สรุปกิจกรรม "เพาะกล้า ตาโขนน้อย" โครงการฝึกสอนทักษะว่ายน้ำ

สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม “เพาะกล้า ตาโขนน้อย”
โครงการฝึกสอนทักษะว่ายน้ำ บุตรหลานเจ้าหน้าที่ รพร. ด่านซ้าย
ระหว่างวันที่ 13-15 ตุลาคม 2551 รุ่นที่ 1 เวลา 08.00-10.00 น.
……………………………………………………………….
1. ข้อมูลทั่วไป
กลุ่มเป้าหมาย :บุตรหลานเจ้าหน้าที่ รพร.ด่านซ้าย อายุ 8 ปีขึ้นไป จำนวน 20 คน
สถานที่              ภูนาคำรีสอร์ท       
วันที่                   13-15 ตุลาคม 2551          
                           รุ่นที่ 1 ช่วงเวลา    09.00-11.00 น.
                           รุ่นที่ 2 ช่วงเวลา    15.00-17.00 น.
อุปกรณ์
  1. แว่นตาว่ายน้ำสำหรับเด็ก
  2. อุปกรณ์ช่วยลอยตัว
อาหาร             อาหารว่างจำนวน 30 ที่ (สนับสนุนโดยภูนาคำรีสอร์ท)
งบประมาณ    สนับสนุนค่าเดินทางวิทยากร           รวม        5,000    บาท
 
ครูผู้ฝึกสอน   คุณอำภาพร ทองเอก (ครูอุ้ย)
.
ผู้รับผิดชอบ     
  1. นพ.ภักดี สืบนุการณ์
  2. ว่าที่ ร.ต.เดชา สายบุญตั้ง
  3. ภญ.ดาริน จึงพัฒนาวดี
  4. นายนุกูล มิ่งแก้ว
  5. นางสาว
  6. นางสาวนวลนิสา นนทะโคตร      
2. หลักสูตรการสอนการสอนว่ายน้ำ
กติกาการลงสระ
สวมอุปกรณ์ว่ายน้ำที่ถูกต้อง มีดังนี้ คือ
1.         ชุดว่ายน้ำ    ผู้หญิงมีชุด 2 แบบ ชุดแบบชิ้นเดียว ชุดแบบสองชิ้น    ผู้ชาย ใส่กางเกง
2.         หมวกว่ายน้ำ     ผู้หญิงควรสวมทั้งผมสั้นและผมยาว    ผู้ชาย ถ้าผมสั้นไม่จำเป็นต้องใส่ แต่ถ้าผมยาวควรใส่
3.         แว่นตาว่ายน้ำ     ควรสวมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
4.         การวอร์ม
-          หมุนคอซ้ายและขวาข้างละ 10 ครั้ง
-          หมุนไหล่ จับหัวไหล่หน้าและหลังอย่างละ 10 ครั้ง
-          เหวี่ยงแขนไปข้างหน้าและข้างหลังอย่างละ 20 ครั้ง 
-          หมุนเอวซ้ายและขวาข้างละ 10 ครั้ง
-          ย่อเข้า 10 ครั้ง
-          หมุนข้อเท้าซ้ายและขวาข้างละ 10 ครั้ง
-          แตะสลับ 20 ครั้ง
-          กระโดดตบ 20 ครั้ง
-          วิ่งอยู่กับที่ช้าและเร็ว 20 ครั้ง 2 เซต
หมายเหตุ จุดประสงค์ของการวอร์มร่างกายเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นและยืดหยุ่น
5.         อาบน้ำก่อนลงสระ
6.         ไม่วิ่งเล่นกันบนสระ
.
.
วันแรก
- นั่งเตะเท้าบนขอบสระ พร้อมทั้งเป่าลมออกทางปาก เทคนิคการเตะเท้าที่ดีคือ เหยียดปลายเท้าให้นิ้วเท้าทั้งห้าเหยียดตรงไปข้างหน้า พร้อมกดเท้าลงไปในน้ำให้ลึกประมาณ 1 ฟุตและที่สำคัญคือไม่งอเขา
- คว่ำหน้าเตะเท้า เมื่อเด็กคว่ำหน้าเตะเท้า อาจารย์ผู้สอนเอามือยกขึ้นมาเหนือน้ำประมาณครึ่งฟุต เพื่อให้เด็กเตะเท้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
- เดินในน้ำ เพื่อให้เด็กรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับน้ำและไม่กลัวน้ำ
- เป่าลมในสระ สอนให้เด็กรู้จักการหายใจในน้ำได้นานและถูกต้อง เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่ไม่รู้จะกลายเป็นการกลั้นหายใจในน้ำ
- สอนทำแมงกระพุน ปลาดาว
ท่าแมงกระพรุนทำโดยการเอามือกอดเขาไว้ทั้งสองข้างและก้มศีรษะให้ชิดเขา  
ท่าปลาดาวทำได้สองแบบคือ แบบคว่ำหน้าและหงายหน้า ลักษณะท่าคว่ำหน้าคือกางแขนและกางขาออก ทำตัวให้เสมอกับน้ำ ถ้าเป็นลักษณะนอนหงายทำเมือนกับท่านอนคว่ำแต่ต้องพยายามยืดหน้าอกให้มากที่สุด เพื่อให้เด็กรู้จักการลอยตัวเบื้องต้น
- เตะเท้าโดยใช้โฟมสั้น
สิ่งที่ผู้สอนต้องทำคือ
1.       จับเท้าเด็กทั้งสองข้างเตะสลับกันในน้ำให้ลึกประมาณ 1 ฟุต
2.       ขณะเด็กเตะเท้าสังเกตดูการเตะเท้าและเอามือของผู้สอนรองเท้าไว้ด้านบนประมาณครึ่งฟุต เพื่อที่จะให้เด็กเตะโดนมือ จะได้ไม่สูงเกินไป
- เตะเท้าโดยใช้โฟมยาว
สิ่งที่ผู้สอนต้องทำคือ
1.       จับเท้าเด็กทั้งสองข้างเตะสลับกันในน้ำให้ลึกประมาณ 1 ฟุต บอกให้เด็กกดเอวเพื่อที่ก้นเด็กจะได้ไม่ลอย อีกทั้งส่งผลให้เท้าเตะได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
2.        จับโฟมเบาๆเพื่อเป็นการนำทางประคองให้เขาเตะเท้าได้ตรงทาง
- มือแตะขอบสระและเตะเท้า
.
.
 
วันที่สอง
- ทำซ้ำแบบวันแรก
- ให้นั่งหมุนแขนบนขอบสระท่าฟรีสไตล์
1.       ให้ฝ่ามือเด็กต่ำกว่าข้อศอก กวักมือเข้าหาลำตัวโดยทำมุม 45 องศา ผลักผ่านแนวกลางลำตัว จนถึงใต้สะดือ แล้วจึงผลักแขนออกข้างชิดลำตัว
2.       ชักศอกขึ้นโดยให้แขนทำมุม 45 องศา (โดยแขนที่อยู่เหนือน้ำนั้นต้องไม่เกรง ปล่อยแขนสบายๆ)
3.       วางแขนลงในน้ำ โดยให้ปลายมือเป็นส่วนที่ปักลงไปในน้ำก่อน
- จับโฟมยาวหมุนแขนที่ละข้าง
- จับโฟมยาวสลับกันหมุนแขน
- จัดทีมผลัดแข่งเตะเท้าโฟมสั้น         
 .
.
วันที่สาม
- ทำซ้ำวันที่สอง
- จับโฟมยาวสลับแขนพร้อมพลิกหน้าหายใจ
1.       การพลิกหน้าหายใจเริ่มต้นพร้อมกับการผลักแขน ผลักแขนสุดชิดลำตัว ก็พลิกหน้าหายใจพ้นน้ำพอดี การบิดหน้าขึ้นหายใจเหนือน้ำนั้น ให้พ้นน้ำแค่ครึ่งหน้าพอ การพลิกหน้าก็พลิกช้าๆ พอปากพ้นน้ำก็อ้าปากเพื่อเอาลมไปเก็บสะสมไว้ หลังจากนั้นก็พลิกหน้ากลับพร้อมด้วยกับการวางแขน
- ปล่อยโฟมหมุนที่ละแขน
- ปล่อยโฟมสลับสองแขน
- ปล่อยโฟมสลับสองแขนพร้อมพลิกหน้าหายใจ
-   จัดแข่งขันทีมผลัด
.
.
 3. รายชื่อบุตรหลานเจ้าหน้าที่ที่เข้าฝึกทักษะว่ายน้ำ
รุ่นที่ 1
1. ด.ญ.สุภาวิตา แสนประสิทธิ์
2. ด.ช.รัชชานนท์ สายบุญตั้ง
3. ด.ช.จักรินทร์ ฉิมงาม
4. ด.ช.อรรคพล  อินแผลง
5. ด.ญ.ปวรพิชญ์ นิยมถิ่น
6. ด.ญ.ศิยาพร แสงรัตน์
7. ด.ญ.ณัฐนรี แสงรัตน์
8. ด.ญ.สมปรารถนา  ปะทังดีนัง
9. ด.ญ.ชนิกานต์ พรหมรักษา 
10. ด.ญ.กัณญาณัฐ  สุทธิ
 
 
 
 
            รุ่นที่ 2
1.ด.ช.วีระยุทธ  ไปดี
2.ด.ช.พงษ์กร  ตะถา
3.ด.ช.ชนาทิพย์  อรรคสูรย์
4.ด.ช.ทินกฤต  อัครสูรย์
5.ด.ช.อัศวัชญ์  อัครสูรย์
6.ด.ญ. ศตพร  คุ้มภัย
7.ด.ญ.พิชญา  ศรีแสง
8.ด.ญ.ปาริฉัตร  ไชยศรี
9.ด.ช.ปัณณทัต  วุฒิดิลกประพันธ์
.
4. สรุปผลการฝึกสอนทักษะว่ายน้ำ
1.       ชื่อ เด็กหญิง ศตพร คุ้มภัย   ชื่อเล่น พั้น   อายุ 11 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- ยังมีการเตะเท้างอเข่าอยู่ เลยทำให้น้ำกระจาย   
วิธีแก้ไขคือ
- ลักษณะการเตะคือ เหยียดขาและงุ๊มปลายเท้า เวลาเตะให้เตะทั้งขาไม่เตะเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง กดเอวจะช่วยให้เท้าไม่ลอยน้ำ   เวลาเตะควรกดเท้าลงน้ำให้ลึก
                           
2.       ชื่อ เด็กหญิง ชนิกานต์ พรหมรักษา   ชื่อเล่น ข้าวฟ่างอายุ 10 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- การเตะเท้า ข้าวฟ่างสามารถเตะได้ดีแล้วทั้งโฟมสั้นและโฟมยาว แต่สิ่งที่ติดคือการหายใจ  
วิธีแก้ไขคือ
- เริ่มเป่าลมจากการอยู่กับที่ก่อนจากเป่าหนึ่งครั้งเป็นเป่าสองครั้งจนกระทั่งเป่าได้แบบต่อเนื่อง
 
3.       ชื่อ เด็กหญิง สุภาวิตา แสนประสิทธิ์ ชื่อเล่น วานหอมอายุ 10 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- เวลาเตะเท้าตัวส่ายและยังติดเรื่องการหายใจ
วิธีแก้ไขคือ
- การหายใจเริ่มเป่าลมจากการอยู่กับที่ก่อนจากเป่าหนึ่งครั้งเป็นเป่าสองครั้งจนกระทั่งเป่าได้แบบต่อเนื่อง ส่วนการตัวส่ายนั้น การเตะโฟมสั่นหรือโฟมยาวเหมือนกัน ให้เขาปล่อยตัวตามสบายไม่เกร็งทุกส่วนและที่สำคัญคือมองจุดเดียวไม่โยกหัวไปมา อาจทำให้ตัวนิ่งขึ้นได้
 
4.       ชื่อ เด็กชาย อรรคพล อินแผลง ชื่อเล่น นิคกี้
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- ยังมีการเตะเท้างอเข่าอยู่ เลยทำให้น้ำกระจาย   
วิธีแก้ไขคือ
- ลักษณะการเตะคือ เหยียดขาและงุ๊มปลายเท้า เวลาเตะให้เตะทั้งขาไม่เตะเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง กดเอวจะช่วยให้เท้าไม่ลอยน้ำ   เวลาเตะควรกดเท้าลงน้ำให้ลึก
         
5.       ชื่อ เด็กหญิง ปวรพิชญ์ นิยมถิ่น ชื่อเล่น ใบเตย
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- มีความตั้งใจสูงมากๆ การเตะเท้ายังเข่างออยู่ พอเข่างอเลยส่งผลให้ดึงตัวจมไปด้วย
วิธีแก้ไข
- ใบเตยยังเกรงขาอยู่ ให้เขาปล่อยขาตามสบาย ยกตัวให้ลอยขึ้นขนานกับน้ำ และพยายามเตะขาให้ถี่ขึ้นและเหยียดเขาให้ตึง
 
6.       ชื่อ เด็กหญิง สมปรารถนา ปทักขินัง ชื่อเล่น เปียโน อายุ 7 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- มีความตั้งใจสูงมากๆเหมือนใบเตยเลย การเตะเท้ายังเข่างออยู่ พอเข่างอเลยส่งผลให้ดึงตัวจมไปด้วย
วิธีแก้ไข
- เปียโนยังเกรงขาอยู่ ให้เขาปล่อยขาตามสบาย ยกตัวให้ลอยขึ้นขนานกับน้ำ และพยายามเตะขาให้ถี่ขึ้น
และเหยียดเขาให้ตึง
 
7.       ชื่อ เด็กชาย รัชชานนท์ สายบุญตั้ง ชือเล่น นนท์ อายุ 11 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- มีพื้นฐานค่อนข้างดีกว่าคนอื่น ล่าสุดเริ่มใช้แขนแล้ว สิ่งที่ควรระวังคือเวลาผลักแขน ถ้าเป็นไปได้ควรผลักแขนให้สุด เพื่อที่ตัวจะได้ไหลไปข้างหน้า
 
8.       ชื่อ เด็กชาย จักรรินทร์   ฉิมงาม ชื่อเล่น แนคโจ้ อายุ 10 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- แน๊คโจ้เกร็งขามากๆ
วิธีแก้ไขคือ
- จับปลายเท้าเขาสบัดขึ้นลง โดยที่บอกให้เขาไม่เกรง จนเขาสามารถจำความรู้สึกได้ และลองให้เขาเตะใหม่
 
9.       ชื่อ เด็กหญิงกัญญาณัฐ สุทธิ ชื่อเล่น นิ้ง อายุ 11 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
-   เตะเท้าดีแล้ว ล่าสุดเริ่มใช้แขนแล้ว สิ่งที่ควรระวังคือเวลาผลักแขน ถ้าเป็นไปได้ควรผลักแขนให้สุด เพื่อที่ตัวจะได้ไหลไปข้างหน้า และขึ้นแขนด้านบนไม่เกรงแขน
 
 
10.   ชื่อ เด็กหญิง อัญญา ดีด่านค้อ ชื่อเล่น อัญ อายุ 7 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
-  มีพัฒนาการดีขึ้นจากวันแรกที่ไม่กล้าจับโฟมและเตะเท้า และขึ้นน้ำก่อนเพื่อน วันสุดท้ายสามารถเตะโฟมสั้นข้ามฝั่งได้เอง โดยไม่ต้องมีครู    ขั้นตอนต่อไปควรจับให้เตะโฟมยาว 
 
11.   ชื่อ เด็กหญิง พิชญา ศรีแสง ชื่อเล่น เนย อายุ 10 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
-  มีพื้นฐานดีอยู่แล้ว ตอนนี้สอนให้ดึงแขนสองข้างในวันสุดท้าย   ที่ต้องฝึกต่อไปคือ สอนให้พลิกหน้าหายใจ โดยเอาแขนซ้ายไว้ข้างหน้า และแขนขวาวางข้างลำตัว พลิกหน้าเหนือน้ำเพียงแค่ครึ่งหน้าอย่างช้า และพลิกกลับ
 
12.   ชื่อ เด็กชาย ภัคพงษ์ อุประ ชื่อเล่น ทีม อายุ 9 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
-  ล่าสุดสามารถปล่อยโฟม และเตะเท้าด้วยตัวเองได้   ขั้นตอนต่อไปสอนจับโฟมยาวแล้วให้ดึงแขนทีละข้าง
 
13.   ชื่อ เด็กชาย ชนาทิป อรรคสูรย์ ชื่อเล่น ขิง อายุ 8 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- ล่าสุดสามารถปล่อยโฟม และเตะเท้าด้วยตัวเองได้   ขั้นตอนต่อไปสอนจับโฟมยาวแล้วให้ดึงแขนทีละข้าง   พร้อมให้ปรับการเหยียดขาในการเตะเท้าให้ตรงขึ้น
 
14.   ชื่อ เด็กชาย วีระยุทธ ไปดี   ชื่อเล่น เปตอง   อายุ 9 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- ตอนนี้ยังปล่อยเตะโฟมคนเดียวไม่ได้ ยังมีความกลัวสำลักน้ำอยู่  
วิธีแก้ไขคือ
-  ให้ผู้ฝึกสอนประคองเขาโดยการให้เด็กแตะมือเบาๆพร้อมด้วยการเตะเท้าไปด้วยกันก่อน หลังจากนั้นค่อยให้เขาเตะมาหาเราเอง โดยตัวผู้ฝึกสอนก็ค่อยๆขยับหนีเขาไปเรื่อยๆ จนเขาสามารถเตะได้เองจนถึงขอบสระ
 
15.   ชื่อ เด็กหญิง นวสา พลเดชาสวัสดิ์ ชื่อเล่น พิ้งค์   อายุ 9 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- สามารถใช้โฟมสั้นและยาวได้ดี ตอนนี้ถึงขั้นให้ปล่อยโฟมแล้วใช้แขน  
   สิ่งที่ควรแก้ไขคือ
 -   การผลักแขนควรผลักให้สุด ดึงใต้น้ำหนักๆและแขนข้างบนปล่อยตามสบาย   ระหว่างใช้แขนควรเตะเท้าควบคู่กันไปด้วย
 
16.   ชื่อ เด็กหญิง วรยา พลเดชาสวัสดิ์   ชื่อเล่น พั้นช์   อายุ 7 ปี
ข้อเสนอแนะของครูผู้ฝึกสอน
- ตอนนี้จับโฟมยาวเตะเท้า   แต่ยังงอเขาอยู่และเตะขาไม่ต่อเนื่อง
 
วิธีการสอนว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์
1.      เป่าลม
การเป่าลม เริ่มโดยการเอาลมไปไว้ในปาก (ทำตอนที่อยู่บนน้ำ) พอลงน้ำก็ค่อยๆผ่อนออกทีละน้อยๆ ผ่อนจนสุดโดยไม่มีลมอยู่ในปาก ค่อยขึ้นมาเอาลมใหม่ เริ่มทำหนึ่งครั้งจนไปได้เรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง เป็นการฝึกเผื่อการพลิกหน้าหายใจขณะว่ายด้วย โดยใช้หลักการเดียวกันอีกอย่างหนึ่งการเป่าลมอยู่กับที่แบบช้าๆเป็นการช่วยให้หายเหนื่อยเร็วด้วย
 
2.      การเตะเท้า
2.1   นั่งเตะเท้าบนขอบสระ
วิธีการสอนคือ ผู้ฝึกสอนจับที่เท้าของเด็กสบัดขึ้นลงสลับกัน ไม่ให้สูงเกิน ครึ่งฟุต เทคนิคการเตะเท้าที่ดีคือ เหยียดปลายเท้าหรือที่เรียกว่างุ๊มปลายเท้า ให้นิ้วเท้าทั้งห้าเหยียดตรงไปข้างหน้า พร้อมกดเท้าลงไปในน้ำให้ลึกประมาณ 1 ฟุตและที่สำคัญคือไม่งอเขา แต่เป็นการเตะทั้งขา
 
2.2 คว่ำหน้าเตะเท้า
วิธีการสอนคือ ผู้สอนเอามือยกขึ้นมาเหนือน้ำประมาณครึ่งฟุต เพื่อให้เด็กเตะเท้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
 
2.3 เตะเท้าโฟมสั้น
การเตะเท้าโฟมสั้น เริ่มต้นจากการจับโฟม การวางมือบนโฟมควรวางเบาๆหรือเพียงแต่แตะโฟมไว้ประคับประคองเท่านั้น ส่วนหัวของเด็กต้องนิ่ง มองจุดเดียว ไม่โยกหัวไปมาเพราะถ้าโยกไปมาจะลำตัวส่าย ส่วนลำตัวต้องเป็นแนวเดียวกับน้ำ กดเอวเพื่อที่เท้าจะได้ไม่ลอยน้ำ ส่วนขาไม่เกร็งและเหยียดตรง เวลาเตะเตะทั้งขา  เขาไม่กาง แนวขาต้องขนานกัน ขาทั้งสองข้างออกแรงเท่าๆกัน จะได้ไม่เบี้ยวไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
 
2.4  เตะเท้าโฟมยาว
การเตะเท้าโฟมยาว เริ่มต้นจากการจับโฟม การวางมือบนโฟมควรวางเบาๆหรือเพียงแต่แตะโฟม ส่วนหัว ให้น้ำอยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของหน้าผาก มองตรงไปข้างหน้าเป็นจุดเดียว กดเอว ส่วนเท้าทำลักษณะเดียวกับการเตะโฟมสั้น
 
2.5 ปล่อยโฟม
ลักษณะมือให้เหยียดตรงไปข้างหน้าขนานกันหรือาจจะเอามือขวาทับมือซ้ายตามแต่ถนัด ในตอนแรกผู้สอนควรประคองเด็กไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความเคยชิน ประคองในที่นี้คือให้เด็กแตะไว้เฉยๆไม่ให้จับแน่น หลังจากนั้นให้เขาเตะหาผู้ฝึกสอนเอง โดยผู้ฝึกสอนคอยเขยิบออกห่างตัวเด็กๆเรื่อยๆจนเด็กสามารถเตะถึงขอบสระได้เอง
 
2.6 แขนซ้ายไว้ข้างหน้าแขนขวาไว้ข้างลำตัว
ท่านี้เป็นการฝึกการพลิกหน้าหายใจไปในตัว การเตะเท้าก็เตะดังเดิม เพิ่มการพลิกหน้าหายใจเข้าไป โดยการพลิกหน้านั้น ทำได้โดยการบิดหน้าขึ้นช้าๆ ให้หน้าพ้นน้ำแค่เพียงครึ่งหน้า (บิดหน้าเฉยๆ ไม่ใช่ยกหน้า) พอเอาลมเข้าปากแล้วค่อยบิดหน้ากลับช้าๆ การหายใจจะเป็นลักษณะเดียวกับการเป่าลมหายใจ คือลมหมดเมื่อไหร่ค่อยพลิกหน้าหายใจ การพลิกหน้าหายใจอย่าลืมหยุดเตะเท้าด้วย และหน้าควรบิดกลับวางนะจุดเดิม พยายามรักษาแนวศีรษะด้วย
 
3.      การใช้แขนพร้อมโฟมยาว
เริ่มต้นจากแขนข้างขวาและค่อยสลับเป็นแขนข้างซ้าย สิ่งแรกที่ต้องสังเกตคือปลายมือต่ำกว่าหัวไหล่ ลากแขนทำมุมสี่สิบห้าองศา ลากผ่านแนวกลางลำตัว ผ่านสะดือ แล้วจึงผลักชิดลำตัวฝ่ามือหงาย(ใต้น้ำต้องทำให้แข็งแรง มีพลังผลัก ยิ่งเวลาใกล้จะชิดลำตัวควรแรงและเร็ว เพื่อเป็นการส่งตัวให้พุ่งไปข้างหน้า) พอชิดลำตัวแล้ว เป็นส่วนของแขนที่อยู่เหนือน้ำ  ควรมีลักษณะเบาและผ่อนคลาย เริ่มจากชักศอกและหัวไหล่ขึ้นมาทำมุมประมาณสี่สิบห้าองศา จัดมือให้นิ้วชิดกัน ถ้าจะให้ดีทำมืออูมๆเล็กน้อย การวางมือ ส่วนที่ลงน้ำก่อนควรเป็นส่วนของปลายมือ วางให้ยาวและไกลเพื่อที่จะได้เพิ่มจังหวะของการไ หล และที่อย่าลืมคือปลายมือจะต้องต้ำกว่าหัวไหลเสมอไม่ว่าจะเป็นการดึงแขนหรือการวางแขน)
 
4.      การใช้แขนโดยไม่ต้องใช้โฟม
ทำลักษณะเดียวกับการจับโฟม คือ เริ่มจากแขนขวา พอแขนขวาเริ่มดีแล้วเปลี่ยนมาเป็นแขนซ้าย พอครบทั้งสองข้าง ก็เริ่มใช้ทั้งสองแขน แต่ต้องว่ายแบบแขนแตะก่อน(แขนแตะในที่นี้คือ แขนขวาว่ายจนครบทั้งขั้นตอน ค่อยใช้แขนซ้ายต่อจนครบขั้นตอนเหมือนกันจึงใช้แขนขวาต่อ) ทำจนให้เกิดความชำนาญ
 
5.      การใช้แขนแบบต่อเนื่องหรือที่เรียกว่าสมบูรณ์แบบ
การใช้แขนแบบต่อเนื่องคือ ใช้แขนทั้งสองข้างสลับกัน โดยที่ให้จังหวะสัมพันธ์กัน คือ ถ้าแขนข้างขวาผลักทำมุมสี่สิบห้าองศา แขนข้างซ้ายก็ทำมุมสี่สิบห้าองศากำลังจะวางพอดี หรือถ้าผลักแขนข้างขวาสุดชิดลำตัว แขนข้างซ้ายก็วางเหยียดด้านหน้าสุดเช่นกัน จังหวะนี้จะทำให้ส่งลำตัวให้พุ่งไปข้างหน้า ในตอนแรกอาจจะฝื้นๆ แต่ถ้าทำไปซักระยะจะเคยชินและทำได้เอง 
 
6.      สอนทำแมงกระพรุน ปลาดาว
ท่าแมงกระพรุนทำโดยการเอามือกอดเขาไว้ทั้งสองข้างและก้มศีรษะให้ชิดเขา
 ท่าปลาดาวทำได้สองแบบคือ แบบคว่ำหน้าและหงายหน้า ลักษณะท่าคว่ำหน้าคือกางแขนและกางขาออก ทำ   ตัวให้เสมอกับน้ำ ถ้าเป็นลักษณะนอนหงายทำเหมือนกับท่านอนคว่ำแต่ต้องพยายามยืดหน้าอกให้มากที่สุด

ความคิดเห็น

  1. 1
    janza
    janza janza1975@hotmail.com 06/09/2009 11:36
    อยากได้ทักษะการใช้ท่าฟรีสไตล์ {icon8}

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view