การให้บริการผู้เป็นเบาหวานอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตท้องถิ่น

การให้บริการผู้เป็นเบาหวานอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตท้องถิ่น

 

การให้บริการผู้เป็นเบาหวานอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตท้องถิ่น

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย

 

โดย พญ.ทิพพาวดี สืบนุการณ์

ข้อมูลทั่วไป

อำเภอด่านซ้ายเป็นเมืองโบราณตั้งขึ้นในสมัยอยุธยามีประวัติศาสตร์และประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ เช่น งานระเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน งานนมัสการพระธาตุศรีสองรักและประเพณีอื่นๆที่ยังคงเอกลักษณ์ของล้านช้าง มีพื้นที่ 1,700 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองในหุบเขาที่สลับซับซ้อนของเทือกเขาเพชรบูรณ์ มี 97หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 50,000 คน  คนด่านซ้ายกว่าครึ่งอำเภอต้องใช้เวลาเดินทางมาโรงพยาบาลมากกว่า 1 ชั่วโมงและไม่มีรถประจำทาง  เวลามาโรงพยาบาลส่วนมากจะติดรถผู้นำชุมชนเวลาเข้ามาประชุมที่อำเภอหรือต้องเหมารถถ้าฉุกเฉิน  อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 82  กิโลเมตร 

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียงมีผู้รับบริการประมาณ350 คนต่อวันมีแพทย์ 5 คน (อายุรแพทย์ 1คน สูตินรีแพทย์ 1คน)พยาบาล 45 คน เภสัชกร 5 คน นักกายภาพบำบัด 2 คน นักกิจกรรมบำบัด 1คน นักเทคนิคการแพทย์ 2คน จพง.วิทยาศาสตร์การแพทย์1คน รากของความคิดในการพัฒนาโรงพยาบาล พัฒนาศักยภาพโดยไม่ยอมแพ้ต่อข้อจำกัด  พยายามคิดนอกกรอบ ส่งเสริมการเรียนรู้วิถีชุมชนเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชน จึงมีกิจกรรมที่หลากหลายและกลายเป็นทุนทางสังคมของโรงพยาบาล เช่น การส่งเสริมให้ลูกน้อยรักการอ่านโดยอาศัยครอบครัวเป็นพื้นฐาน(Book start)กิจกรรมนักสืบสายน้ำเพื่อการอนุรักษ์แม่น้ำหมัน  ร่วมจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผีตาโขนเพื่อการเรียนรู้และและเชื่อมโยงประเพณีทั้ง 12 เดือนซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต วิทยุชุมชนช่องทางของการสื่อสารและพัฒนากองทุนดูแลสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุกองทุนดูแลผู้ป่วยยากไร้เป็นต้น   

 

การให้บริการดูแลผู้เป็นเบาหวานอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตท้องถิ่่น

การคัดกรองเบาหวานในชุมชนออกปฏิบัติงานตั้งแต่ 6โมงเช้าเพื่อไม่ให้รบกวนวิถีชีวิตของประชาชน โดยเมื่อเจาะเลือดคัดกรองเสร็จจะได้ไปทำงานเกษตรกรรมต่อได้เลย การแจ้งผลการคัดกรองเบาหวานจะต้องไปแจ้งผลตอนเย็นหรือค่ำเมื่อประชาชนกลับจากการทำงานแล้ว การนัดหมายในกรณีที่ค่าน้ำตาลมากกว่า 126mg% ภายใน 2สัปดาห์ถ้าเป็นไปได้จะนัดเป็นวันพระเพราะประชาชนจะไม่ออกไปทำงานในวันพระ(ถือเป็นวันหยุดงานของชุมชน)

การให้ความรู้เรื่องสัดส่วนอาหาร เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในชุมชนบริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก กินเนื้อสัตว์น้อย ส่วนใหญ่จะกินกันมากเฉพาะเวลามีงานบุญ งานเลี้ยง จึงกำหนดสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตเป็น 60 % ของพลังงานที่คำนวณได้แล้วแปลงเป็นจำนวนปั้นข้าวเหนียวต่อมื้อ ( ตารางที่ 2) ส่งเสริมการใช้กระติบข้าวส่วนตัวเพื่อควบคุมปริมานข้าว  การให้ความรู้เรื่องสัดส่วนอาหารในคลินิกจะกำหนดตามปฏิทินชีวิต  เน้นอาหาร/ผลไม้ตามฤดูกาลที่มีในท้องถิ่น

การนัดผู้ป่วยคลินิกเบาหวานรวมกันเป็นหมู่บ้านหรือตำบล เพื่อสะดวกในการเดินทางเหมารถคันเดียว กันเพราะส่วนใหญ่ไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีรถประจำทาง ผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ไกลและการคมนาคมลำบากถ้าจำเป็นต้องนัดเร็วกว่า 3เดือนอาจจะนัดพร้อมวันประชุมผู้นำชุมชนหรือวันพระเพื่อสะดวกในการเดินทาง เนื่องจากวันดังกล่าวมีรถออกมาจากหมู่บ้าน มีการนัดให้บริการในวันหยุดในรายที่ไม่สามารถมารับบริการตรงวันนัดของคลินิกได้ เช่น เด็กนักเรียน   ลูกจ้างชั่วคราวที่ลางานไม่ได้

การให้บริการที่บ้านในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาลได้เช่นผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถนั่งรถมาได้เนื่องจากเมารถอย่างรุนแรง   ผู้ป่วยตาบอด ผู้ป่วยเป็นเจ้ากวน(ผู้ทำพิธีเข้าทรงจะไม่สามารถเข้าในอาคารที่เป็นสองชั้นได้)   พยาบาลจะให้บริการในการเจาะเลือดที่บ้านและนำผลการตรวจเลือดปรึกษาแพทย์ นำส่งยาให้กับผู้รับบริการที่บ้าน

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมการใช้สมุนไพรท้องถิ่นที่มีสรรพคุณลดน้ำตาล  และไขมันในเลือดได้ มีระบบให้คำปรึกษาและติดตามผลข้างเคียงของการใช้สมุนไพร    และการใช้มะระขี้นกซึ่งเป็นพืชประจำท้องถิ่นใช้เป็นยาหลักหรือเสริมกับยาเบาหวาน

การให้บริการที่สถานีอนามัยแม่ข่าย 4 แห่ง  ด้วยมาตรฐานเดียวกับการให้บริการในโรงพยาบาล เพื่อการดูแลอย่างครบถ้วนและต่อเนื่องโดยผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล

การพิมพ์เท้าด้วยสีผสมอาหารแทน Podoscope เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงรูปเท้าและให้คำแนะนำเกี่ยวกับความผิดปกติของเท้าและการเลือกถุงเท้าและรองเท้าที่เหมาะสม การพิมพ์เท้าด้วยสีผสมอาหารเป็นกลวิธีในการสอนการล้างเท้าให้สะอาดและเรียนรู้การดูแลเท้าด้วยตนเองอย่างแท้จริง จัดตั้งกองทุนรองเท้าเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้รองเท้าที่ปลอดภัยและเหมาะกับชีวิตประจำวัติ

การทำค่ายเบาหวานที่หมู่บ้านโดยให้ญาติและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยและผู้ดูแล และมีการติดตามผลทุกเดือนในชุมชน และบุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสได้เรียนรู้วิถีชีวิตผู้เป็นเบาหวานอย่างครบถ้วน เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของแต่ละบ้านต่อไป

 

ตารางที่ 1 การคำนวณพลังงานจากน้ำหนักตัวและระดับกิจกรรม

ภาวะโภชนาการ

กิโลแคลอรี่/กก./วัน

กิจกรรมน้อย

ผู้สูงอายุไม่ทำงาน

อยู่บ้านเฉย ๆ ผู้ป่วย

กิจกรรมปานกลาง

แม่บ้าน ทำสวนครัว 

งานสำนักงาน ค้าขาย

กิจกรรมมาก

ออกกำลังกายหนักเกิน1ชม./วันทำไร่   ทำนา

อ้วน* (BMI > 25)

ปกติ (BMI 18 - 25)

ผอม  (BMI <18)

20-25

30

35

30

35

40

35

40

45-50

 * กรณีที่ BMI เกิน 25 ใช้น้ำหนักปัจจุบันแล้ว โดยให้ลดพลังงานลงวันละ 500 กิโลแคลอรี่ กรณี BMI เกิน 40ให้คำนวณด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่าปัจจุบัน 10%


ตารางที่ 2 การนับคาร์บ

Kcal/วัน

**CARB/วัน

ที่แนะนำ

เช้า

กลางวัน

เย็น

  800

7

3

2

2

1,000

9

3

3

3

1.200

11

4

4

3

1,400

13

5

4

4

1,600

15

5

5

5

1,800

17

6

6

5

2,000

19

7

6

6

2,200

21

7

7

7

2,300

22

8

7

7

2,400

23

8

8

6

2,500

24

8

8

8

* 1 คาร์บ=ข้าวเหนียวปั้นเท่าไข่ไก่=CHO 15 กรัม =60 kcal. นับ CARBเฉพาะข้าว+แป้ง+ผลไม้(ลดไป 1CARB ในส่วนของผัก)

 

 

 

view