การนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมเบาหวาน

การนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมเบาหวาน
.......
การนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมเบาหวาน
ทีมเบาหวาน อำเภอด่านซ้าย
 
            เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หัวใจของการควบคุมเบาหวาน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมเบาหวานจะได้ผลดีต้อง ควบคุมอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ร่วมกับการควบคุมน้ำหนักตัวให้ปกติ ดังนั้นชนิดอาหาร เวลาและปริมาณที่รับประทานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลมากที่สุด 90 – 100%  และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็วใน 15 – 90 นาทีหลังกิน    ส่วนอาหารจำพวกโปรตีนเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลเพียง 58% ไขมันเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลเพียง 10% และใช้เวลานานหลายชั่วโมง ดังนั้น จึงต้องควบคุมสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตในแต่ละวันให้เหมาะสมกับกิจกรรมและพลังงานที่ใช้ 
 
            ตารางรายการอาหารแลกเปลี่ยน แบ่งออกเป็น 6 หมวด คือ
หมวดอาหาร
ส่วน
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
พลังงาน
(กิโลแคลอรี)
หมวดข้าว/แป้ง
1
15
0-3
0-1
80
หมวดผลไม้
1
15
-
-
60
หมวดน้ำนม
 
 
 
 
 
- น้ำนมไม่มีไขมัน
1
12
8
0-3
90
- น้ำนมพร่องไขมัน
1
12
8
5
12
- น้ำนมไขมันเต็ม
1
12
8
8
150
หมวดผัก
1
5
2
-
25
หมวดเนื้อสัตว์
 
 
 
 
 
- เนื้อไม่มีมัน
1
-
7
0-1
32
- เนื้อมีไขมันน้อย
1
-
7
3
55
- เนื้อมีไขมันปานกลาง
1
-
7
5
75
- เนื้อมีไขมันมาก
1
-
7
8
100
หมวดไขมัน
 
 
 
 
 
- ไขมัน
1
-
-
5
45
 
            การคำนวณพลังงานจากน้ำหนักตัวและระดับกิจกรรม
ภาวะโภชนาการ
กิโลแคลอรี่/กก./วัน
กิจกรรมน้อย
ผู้สูงอายุไม่ทำงาน
อยู่บ้านเฉย ๆ , ผู้ป่วย
กิจกรรมปานกลางแม่บ้าน ทำสวนครัว งานสำนักงาน ค้าขาย
กิจกรรมมาก
ทำไร่   ทำนา ออกกำลังกายหนักเกิน1ชม./วัน
อ้วน* (BMI > 25)
ปกติ (BMI 18 - 25)
ผอม (BMI <18)
20-25
30
35
30
35
40
35
40
45-50
            *กรณีที่ BMI เกิน 25 ใช้น้ำหนักปัจจุบันแล้ว โดยให้ลดพลังงานลงวันละ 500 กิโลแคลอรี่ กรณี BMI เกิน 40 ให้คำนวณด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่าปัจจุบัน 10% 
 
            จำนวนCARBที่แนะนำผู้ป่วยเบาหวานอำเภอด่านซ้าย สัดส่วนคาร์โบไฮเดรต 60%
Kcal/วัน
**CARB/วัน
ที่แนะนำ
เช้า
กลาวัน
เย็น
800
7
3
2
2
1,000
9
3
3
3
1.200
11
4
4
3
1,400
13
5
4
4
1,600
15
5
5
5
1,800
17
6
6
5
2,000
19
7
6
6
2,200
21
7
7
7
2,400
23
8
7
7
            **หมายเหตุ : นับ CARB เฉพาะข้าว + แป้ง + ผลไม้  (ลด ไป 1 CARB ในส่วนของผัก)
 
            การคำนวณคาร์บ
            จากการประเมินวิถีชีวิตคนด่านซ้าย ส่วนใหญ่กินข้าวเหนียวเป็นหลัก กินผักประเภท ข. มาก กินเนื้อสัตว์น้อย และไม่ค่อยดื่มนม ทางทีมผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานจึงคิดสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตให้เต็มที่ คือ 60%( แต่สำหรับผู้ที่กินโปรตีนมากอาจใชสัดส่วน50-60%) และนำมาคำนวณพลังงานที่ควรได้จากอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตต่อวัน (CARB) เมื่อได้จำนวน CARB/วัน แล้ว ให้ลดลง 1 CARB เป็นพลังงานที่ได้จากผักประเภท ข จำนวน 3 ส่วน
            กรณีที่ผู้ป่วยไม่เคยดื่มนมเลยหรือดื่มแล้วมีอาการท้องเสียหรือดื่มนาน ๆ ครั้ง ไม่ต้องแนะนำให้นับส่วนของนม
            ดังนั้นส่วนใหญ่ จะแนะนำให้ผู้ป่วยนับ CARB จากส่วนของข้าวแป้งและผลไม้ก็พอ
 
            ข้อสังเกตในการนับคาร์บ
            สำหรับผู้ที่ต้องการจำกัดโปรตีน ในส่วนของข้าว 1 ส่วนจะมีส่วนของโปรตีนอยู่ 3 กรัม ไขมัน 1 กรัม ดังนั้น
            10 คาร์บของข้าว จะมีโปรตีน 1 ส่วน (30 กรัม)
            22 คาร์บของข้าว จะมีไขมัน 1/2 ส่วน (22 กรัม)
 
 
 
การสาธิตอาหารตามแบบด่านซ้าย
การสาธิตอาหารในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ทางทีมได้จัดเมนูเป็นอาหารพื้นบ้านและข้าวเหนียวเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามแบบวิถีที่ดำเนินอยู่
1. กระติ๊บข้าวน้อย     
       แนะนำให้ผู้ป่วยสานกระติ๊บข้าวเหนียวขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8-10 ซม. ซึ่งจะใส่ข้าวตามที่คำนวณสัดส่วนคาร์บของแต่ละราย โดยทั่วไป ๆ แนะนำ 3 – 4 ส่วน สำหรับผู้ที่มีกิจกรรมน้อย
 
2. นับปั้นข้าวเท่ากับนับน้ำตาล 
       แนะนำให้นับจำนวนคาร์บ เป็นปั้นหรือคะแนนหรือส่วน 1 าร์บ=1 ส่วน = น้ำตาลประมาณ 1 ช้อนแกง (15 กรัม) เพื่อเปรียบเทียบให้ชัดเจนขึ้น ให้เทียบข้าวเหนียว 1 ส่วน กับอาหารจำพวก ข้าว แป้ง ผลไม้ นม  ถั่ว และเครื่องดื่มที่กินบ่อย ฝึกการดูส่วนของคาร์โบไฮเดรตจากฉลากสินค้า คาร์โบไฮเดรต 15กรัม =1ส่วน   เช่น น้ำตาล 1 ช้อนแกง (15 กรัม) เท่ากับข้าว 1 ปั้น 
                     นม 1 กล่อง เท่ากับข้าว 1 ปั้น 
                     น้ำอัดลม 1 กระป๋อง เท่ากับข้าว 2 – 3 ปั้น 
                     เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ขวด เท่ากับ ข้าว 2 – 3 ปั้น
                                                  
3. ไม่ใช่ข้าวแต่นับเป็นข้าว 
        อาหารท้องถิ่น ที่ผู้ป่วยนิยมกินเป็นขนมหรือกับข้าวให้ผู้ป่วยเรียนรู้การนับคาร์บ เช่น กลอย ข้าวโพดข้าวเหนียว หมากค้อ เผือก ฟักทอง หมากก่อ ถั่วลิสง เป็นต้น
4.  อาหารตามปฏิทินชีวิต  
         แนะนำให้ผู้ป่วยระวังการกินอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลตามเทศกาล งานบุญ งานเลี้ยง ตามปฏิทินชีวิต
5. คนละติ๊บซุมกัน     
ในวันมาตรวจเบาหวาน รพ.จัดเลี้ยงอาหารเช้า โภชนากรจะตักอาหารให้ผู้ป่วยโดยสอบถามสัดส่วนของข้าวที่ทีมผู้ดูแลแนะนำ ส่วนใหญ่นับข้าวเหนียวประมาณ 3 ส่วน (ไม่ทำงาน) ถ้ามีผลไม้ต้องนับรวม
6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้   
         1. ในกรณีผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าเกณฑ์ ครั้งแรกอาจนำเข้ากลุ่มเพื่อให้ ข้อมูลเรื่องโรคและการปฏิบัติตัวให้เข้าใจมากขึ้น
         2. ในกรณีที่ประเมินแล้วผู้ป่วยมีความรู้แล้ว แต่มีปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัด Focus group เพื่อเรียนรู้จากเพื่อที่คุมได้ “การคุมอาหารในแบบของฉัน”
         3. การทำกลุ่มในผู้ป่วยที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน  เพื่อเพิ่มสัมพันธภาพส่งเสริมให้สุขภาพกันเอง สร้างความเข้มแข็งของกลุ่มโดยทำกลุ่ม “เพื่อนช่วยเพื่อน”
7. ยืดหยุ่นเพื่อเยียวยา
           มีข้อสังเกตในการเรียนรู้เรื่องของการนับคาร์บ ว่าถึงแม้ทางทีมผู้ดูแลจะประเมินพลังงานของผู้ป่วยเบาหวานจากการสอบถามกิจกรรมที่ผู้ป่วยทำในแต่ละวันแล้วคำนวณออกมาเป็นสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตหรือคาร์บแล้วก็ตาม  แต่เราไม่ควรยึดสัดส่วนดังกล่าวตายตัวเพราะผู้ป่วยอาจให้ข้อมูลที่แตกต่างจากความเป็นจริงได้ ดังนั้น  เราควรตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วยและต้องประเมินความพร้อมของผู้ป่วยเป็นหลัก นำมาปรับสัดส่วนคาร์บของผู้ป่วยแต่ละราย   โดยให้สอดคล้องกับสภาพร่างกาย จิตใจและวิถีชีวิตที่ผู้ป่วยดำเนินอยู่   เพื่อความยั่งยืนในการปรับพฤติกรรม ความเข้าใจในวิถีชีวิตและการยืดหยุ่นเป็นหนทางที่ทำให้ผู้ป่วยไว้ใจและแลกเปลี่ยนข้อมูลให้แก่ทางทีมผู้ดูแลได้มีโอกาสปรับปรุงแผนการดูแลให้เหมาะสมและประสบผลสำเร็จในการควบคุมเบาหวานได้
......
view