สรุปกิจกรรม "เพาะกล้า ตาโขนน้อย" โครงการฝึกสอนดนตรีไทย

สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม “เพาะกล้า ตาโขนน้อย”
โครงการฝึกสอนดนตรีไทย บุตรหลานเจ้าหน้าที่ รพร. ด่านซ้าย
ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2551
……………………………………………………………….
1. ข้อมูลทั่วไป
  • กิจกรรม            ดนตรีไทย (อังกะลุง)
  • กลุ่มเป้าหมาย  บุตรหลานเจ้าหน้าที่ รพร.ด่านซ้าย อายุ 8 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดจำนวน
  • สถานที่             ห้องประชุมผีตาโขน           
  • วันที่                  13-17 ตุลาคม 2551   ช่วงเวลา 13.00-15.00 น.
  • อุปกรณ์            ชุดอังกะลุงจากโรงเรียนบ้านด่านซ้าย
  • งบประมาณ     สนับสนุนตะโพนให้โรงเรียนด่านซ้าย 1 ตัว มูลค่า           4,500    บาท.
.   ครูผู้สอน อ.สังข์ ศิลป์ชัย  โทร. 089-5762117
.
     ตาโขนใหญ่ใจดีที่ร่วมสนับสนุน
  1. นพ.ภักดี สืบนุการณ์
  2. ว่าที่ ร.ต.เดชา สายบุญตั้ง
  3. นางสาวนวลนิสา นนทะโคตร 

2. หลักสูตรการสอนการดนตรีไทย(อังกะลุง)

เนื้อหาของการเรียนการสอน

  • ประวัติความเป็นมาของเครื่องดนตรีอังกะลุง
  • วิธีการเล่นอังกะลัง
  • การฝึกซ้อมการเล่นเพลงไทย 4 เพลง
  • การแสดงการบรรเลงดนตรีอังกะลุง  ร่วมกับนักเรียนจากโรงเรียนด่านซ้าย

3. รายชื่อบุตรหลานเจ้าหน้าที่ที่เข้าเรียนดนตรีไทย(อังกะลุง)

  1. ด.ญ.สุภาวิตา แสนประสิทธิ์
  2. ด.ช.รัชชานนท์ สายบุญตั้ง
  3. ด.ช.จักรินทร์ ฉิมงาม
  4. ด.ญ.สมปรารถนา  ปะทังดีนัง
  5. ด.ช.ภัคพงษ์  อุประ
  6. ด.ญ.ศตพร  คุ้มภัย
  7. ด.ญ.พิชญา  ศรีแสง
  8. ด.ญ.ชลธิดา  ทองสุข
  9. ด.ญ.นวสา  พลเดชาสวัสดิ์
  10. ด.ญ.วรยา   พลเดชาสวัสดิ์
  11. ด.ช.อรรคพล  อินแผลง
  12. ด.ช.  ชนาทิพ  อรรคสูรย์
  13. ด.ญ.  ปวรพิชญ์  นิยมถิ่น
  14. ด.ญ.  เพ็ญพิชชา  ธิติวิภู

4. สรุปผลการเรียนดนตรีไทย

             กิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีไทย (อังกะลุง) สำหรับบุตรหลานเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2551 โดยความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย และอาจารย์สังข์ ศิลป์ชัย และนักเรียนโรงเรียนบ้านด่านซ้าย ซึ่งมีเป้าหมายที่ต้องการให้บุตรหลานครอบครัวชาวโรงพยาบาล ได้ใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนร่วมกิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ในด้านดนตรีไทยโดยใช้เครื่องดนตรีอังกะลุง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เครื่องเสียงตัวโน๊ตของดนตรีไทย และสามารถเล่นเพลงง่ายๆ แต่ต้องใช้ความสามัคคีร่วมกันในการบรรเลงเพลงให้ได้ตามจังหวะ

            สำหรับกิจกรรมดนตรีไทยในครั้งนี้ มีบุตรหลานเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 14 คน สามารถบรรเลงได้จำนวน 4 เพลง และได้มีการจัดการแสดงการบรรเลงดนตรีไทยอังกะลุง ร่วมกับเครื่องดนตรีไทยอื่นๆโดยมีการเชิญชวนผู้ปกครองมาร่วมชมการแสดงในครั้งนี้  ซึ่งทาง อ.สังข์ ศิลป์ชัย ได้เสนอแนะว่า เด็กที่มีพื้นฐาน รู้จักจังหวะเพลง ท่องตัวโน๊ตได้แล้ว ในครั้งต่อไปอาจจะเลือกฝึกเครื่องดนตรีไทยที่ตนชอบ เช่น ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ย ขิม เป็นต้น

.

.

 

view