งานเขียนคุณอรสม ทุกมิติ คือ งานเพื่อสุขภาพ

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย : ทุกมิติ คือ งานเพื่อสุขภาพ

 

(คัดจากหนังสือ...ที่แห่งนี้ รักษาด้วยความสุข โดย คุณอรสม  สุทธิสาคร สำนักพิมพ์สารคดี พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2551)

 

เด็กกลุ่มใหญ่เดินเกาะกลุ่มกันอยู่ในผืนป่า  บางขณะได้ยินเสียงนกร้องเหมือนเสียงดนตรีจากธรรมชาติขับกล่อม  ในผืนป่าอันกว้างใหญ่มีต้นไม้ใหญ่มากมาย  บางต้นขนาดเล็กหลายคนโอบยังไม่รอบ  บ้างเป็นต้นไม้แปลก    ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน  บางขณะวิทยากรชี้ชวนให้ดูต้นไม้บอกเล่าให้เด็กเข้าใจถึงเรื่องราวของธรรมชาติ  ไม่น่าเชื่อว่าต้นไม้หลายชนิดใช้เป็นสมุนไพร  รักษาโรคภัยได้  ครั้งที่ยังไม่มียาเม็ดสำเร็จรูปอย่างทุกวันนี้  คนรุ่นปู่รุ่นย่าได้อาศัยบางส่วนของต้นไม้เหล่านี้  เช่น  ราก  ใบ  เปลือก  หรือผล  นำมาเป็นยา  ผลหรือใบของพืชหลายชนิดยังใช้กินเป็นอาหารได้  ดอกหรือใบบางชนิดก็นำมาใช้ทำน้ำสมุนไพร  จิบดื่มชื่นใจและยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย

เด็ก    ได้รู้ว่านอกจากป่าเป็นร้านยาธรรมชาติขนาดใหญ่แล้ว  ป่ายังเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ที่ไม่ต้องใช้เงินทองซื้อหา  ในป่ายังเป็นบ้านของนก  กระรอก  กระแต  และสัตว์อื่น    อีกมากมายลุงที่เป็นวิทยากรนำเดินชมป่าบอกว่า  ในป่าที่ลึกเข้าไปยังมีสัตว์ใหญ่อีกสารพัดชนิด  สัตว์อาศัยอยู่ในป่าเหมือนที่เด็ก    อาศัยอยู่ในบ้าน  มีพ่อมีแม่  มีพี่มีน้องเหมือนกัน  หากเราทำลายป่า  ก็จะไม่มีบ้านให้สัตว์อยู่ แหล่งอาหารก็จะค่อยหมดไป  รวมถึงแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ก็จะค่อยแห้งขอดลง

ลุงวิทยากรยังสอนให้เด็ก    หัดดูนก  ธรรมชาติของนกแต่ละชนิดก็ต่างกัน  เด็ก    มีความสุข  เห็นคุณค่าของต้นไม้และผืนป่า  ลุงหมอบอกว่าคราวหน้าจะพาเด็ก    มาเข้าค่ายนักสืบสายน้ำ  เด็ก    จะได้ช่วยกันดูแลต้นน้ำลำธาร  เพื่อน้ำจะได้สวยใส  ไม่เน่าเสีย  เพราะถ้าสภาพแวดล้อมขาดความอุดมสมบูรณ์  ป่าหมดไป  น้ำเน่าเสีย  ผู้คนในชุมชนก็จะอยู่กันอย่างลำบากมากขึ้น....

เด็ก    เหล่านี้เป็นลูกหลานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล  และเป็นลูกหลานชาวบ้านในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย  ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ  ซึ่งโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

บทบาทของโรงพยาบาลชุมชนแห่งนี้  มิใช่เพียงการดูแลชุมชนเฉพาะด้านการรักษาพยาบาล  หากยังสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนในหลายมิติ  ทั้งการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น  การปลูกจิตสำนึกด้านการรักธรรมชาติในกลุ่มเยาวชน  สร้างวัฒนธรรมรักการอ่าน  ฯลฯ  บนรากฐานความเชื่อที่ว่าโรงพยาบาลมิได้แยกส่วนกับชุมชน  หากคือลูกหลานของชุมชน  และชุมชนคือเจ้าของโรงพยาบาล

บุคลากรของโรงพยาบาล  นับแต่ผู้อำนวยการตลอดจนเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายล้วนมีอุดมคติในแนวทางเดียวกัน  มีหัวใจใฝ่รักในธรรมชาติ  มีความเป็นทีมที่ขันแข็ง  ด่านซ้ายจึงเป็นเมืองน่าอยู่  มีสภาพแวดล้อมดี  ไม่น่าเชื่อว่าสถิติการตายอันดับ ๑  ของคนที่นี่คือโรคชรา

เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้สงบสุขน่าอยู่  มีภูมิประเทศสวยงาม  ชาวบ้านเป็นเกษตรกรทำนาทำไร่เป็นหลัก  ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็มีหมอที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายได้พอเป็นที่พึ่ง  โรงพยาบาลแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๒๐  แม้จะก่อตั้งมานาน  แต่ผู้อำนวยการคนแล้วคนเล่าเปลี่ยนหน้ากันมา  แล้วก็จากไป  บ้างอยู่เพียงช่วงสั้น ๆ  ไม่มีใครอยู่ได้นานเกิน    ปี...
ความเปลี่ยนแปลงของโรงพยาบาลเกิดขึ้นในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๒  เมื่อผู้อำนวยการคนใหม่มารับหน้าที่จนถึงวันนี้  นายแพทย์ภักดี  สืบนุการณ์  หรือคุณหมอจิ๋ว  อยู่ที่นี่มาได้  ๑๘  ปีแล้ว  ได้ชื่อว่าเป็นแพทย์ที่อยู่มานานที่สุด  และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับโรงพยาบาลมากที่สุหมอจิ๋วไม่ได้นั่งประจำอยู่กับโรงพยาบาล  รอคนไข้มารักษาแต่หมอยังตะลอน ๆ  ไปตามหมู่บ้าน  ศึกษาชีวิตผู้คน  เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่น จนถึงวันนี้คนด่านซ้ายรู้สึกว่าหมอจิ๋วและครอบครัวกลายเป็นคนของที่นี่ไปแล้ว  ทุกคนรักหมอและรักโรงพยาบาล  เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเป็นบุญของคนด่านซ้ายที่มีหมออย่างหมอจิ๋วมาอยู่ที่นี่   แกเป็นคนทำงานเชิงรุก  ไม่คอยคนไข้อยู่แต่ในโรงพยาบาล  แกไปมาแล้วทุกหมู่บ้านในด่านซ้าย  ผมเกิดที่นี่ยังเห็นไม่หมดเท่า  หมอจิ๋วเป็นคนช่างรู้  ช่างศึกษา  แถวด่านซ้าย  นาแห้ว  ภูเรือ  บ้านเล็กบ้านน้อย  ห้วยน้ำไหลมาจากไหนแผนที่อะไรอยู่ตรงไหน  แกรู้หมด  ทำให้หมอจิ๋วมีในสิ่งที่คนอื่นไม่มีคือความคุ้นเคยระหว่างหมอกับชาวบ้าน  ขนาดเด็กยังรู้จักแกหมด  งานศพ  งานแต่ง  งานบวชจะเชิญหรือไม่เชิญ  แกมาหมดขนาดผู้ว่าราชการจังหวัดยังยอมรับแก  ถ้าจะถามข้อมูลในด่านซ้ายแทนที่จะเรียกนายอำเภอ  ผู้ว่า ฯ  จะเรียกแกไปพบ  เพราะนายอำเภอมาปีสองปีก็ย้าย  แกจะพาผมไปด้วยเสมอ  คุณตาสมเดช  สิงห์ประเสริฐ  ข้าราชการบำนาญวัย  ๗๖  ปี  คนเก่าแก่ของพื้นที่ผู้มีความรอบรู้เรื่องประเพณีวิถีชีวิตของคนด่านซ้ายดี  บอกเล่าถึงหมอจิ๋ว  นายแพทย์ภักดี  สืบนุการณ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช  ด่านซ้าย  ที่คุณตาคุ้นเคยนับถือกัน  ที่นี่คำว่ามนุษยธรรมมิใช่คำกล่าวอ้างที่สวยหรู  แต่เป็นสิ่งที่สัมผัสจับต้องได้ในความเป็นจริง  ภายใต้หลักการบริหารและการบริการที่คำนึงถึงความสะดวก  ปลอดภัย  และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างดีที่สุด 
โรงพยาบาลชุมชนขนาด  ๖๐  เตียงแห่งนี้มีสภาพแวดล้อมที่ดี  อากาศโปร่งโล่งเย็นสบาย  ร่มรื่นด้วยต้นไม้  ดูสวยงามสดชื่น  การออกแบบ ปลูกสร้างเน้นการประหยัดพลังงาน  และให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี  โดยมีไม้เป็นส่วนประกอบ  เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น  เน้นพื้นที่สีเขียวของสนามหญ้ามากกว่าพื้นที่ซีเมนต์  เป็นบรรยากาศของสถานที่ทำงานที่น่าอยู่  ด้วยความใส่ใจของ  ผอ.  และเจ้าหน้าที่ที่สนใจทางด้านการออกแบบตกแต่ง  ทำให้โรงพยาบาลได้รับรางวัลการประกวดภูมิทัศน์ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปี  ๒๕๔๙    หมอจิ๋วมีบุคลิกกระฉับกระเฉง  ร่างสูง  ผิวออกคล้ำ  มีพื้นเพเป็นคนบางบัวทอง  แม่มีเชื้อจีน  พ่อเป็นศึกษาธิการอำเภอ  ทำให้ต้องโยกย้ายตามครองครัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ  อยู่บ่อย ๆ ครั้ง  พ่อแม่มีลูกทั้งหมดสี่คน  ทุกคนเรียนหนังสือเก่ง  และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน  พ่อเป็นคนยึดระเบียบแบบแผนของชีวิตราชการ  และพยายามปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้กับลูก  ขณะที่แม่สอนลูกให้รักศักดิ์ศรี  และขยันทำงาน  บ้านที่บางบัวทองอยู่ในเรือกสวน  เด็กชายภักดีในวัยเด็กจึงพายเรือเป็น  ช่วยแม่จ่ายตลาด  และทำงานบ้านได้สารพัด  เด็กชายคนนี้รักการกีฬา  ถนัดเล่นกีฬาได้หลายประเภท  และเป็นนักกีฬาโรงเรียนมาตลอด  แม้จนทุกวันนี้ก็ยังเล่นกีฬาเป็นงานอดิเรก 
ความที่เป็นเด็กเรียนดี  อาจารย์จึงแนะให้เรียนแพทย์  ระหว่างเรียนแพทย์ที่ขอนแก่น  ได้เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัยแพทย์ สองท่านที่เป็นแบบอย่างในอุดมคติที่ได้สัมผัสครั้งยังเป็นนักศึกษาแพทย์  คืออาจารย์พิสิทธ์  สัณห์พิทักษ์   เป็นแบบอย่างของอาจารย์หมอที่สมถะ  อีกท่านคือนายแพทย์สันต์  หัตถีรัตน์  ซึ่งนั่งเครื่องบินมาสอนจากกรุงเทพฯ  หมอสันต์เป็นหมอโรคหัวใจ  ครั้งหนึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจรายหนึ่งอาการเพียบหนัก  อาจารย์เรียกนักศึกษาแพทย์เข้ามาในห้องเป็นกลุ่ม  และสอนเรื่องชีวิต 
ตอนนั้นผมอยากได้ความรู้มาก  เรายังไม่ได้ถกกันเลย  เมื่อไรอาจารย์จะชี้ว่าควรทำอย่างไร  อาจารย์กลับพูดว่าเขากำลังจะตายแล้วนะ  มีใครรู้ไหม  มีใครถามบ้างว่าผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร  เขาต้องการอะไรเราฝันว่าอาจารย์เก่งด้านหัวใจ  น่าจะมาโชว์การตรวจหัวใจ   แต่อาจารย์กลับหักมุมแบบนี้  ผมตกใจว่ามีหมอคิดอย่างนี้ด้วยหรือ  โอ้โฮ  สุดยอดเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่ผมจำมาจนบัดนี้  หลังจบแพทย์ที่ขอนแก่น  คุณหมอใหม่เลือกทำงานในพื้นที่จังหวัดเลย  โดยไม่ได้มีเป้าหมายอะไรเด่นชัด  ทั้งยังคิดในใจว่าคงจะอยู่ได้ไม่นาน  แห่งแรกที่มาอยู่คือโรงพยาบาลภูเรือ  ความที่เป็นคนชอบท่องเที่ยวเดินทาง  ทุกเสาร์  อาทิตย์  พยาบาลจะพาหมอออกหมู่บ้าน  ได้ไปเห็นธรรมชาติแสนสวย  เห็นภูเขา  ป่าไม้เปลี่ยนสี  แม่น้ำใส  ลำธาร  เกาะแก่ง  บางครั้งต้องเข็นรถแบกของเดินขึ้นหมู่บ้านในหุบเขา  ทำให้เริ่มประทับใจกับสภาพภูมิประเทศที่น่าอยู่  มกรคม  ๒๕๓๑  หลังจากมาอยู่ภูเรือได้ราว  ๑๐  เดือน  เกิดเหตุสู้รบที่สมรภูมิร่มเกล้า  ทางราชการหาหมออาสาสมัครไปอยู่ในพื้นที่ร่มเกล้า  ขณะนั้นหมอเกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกียรติ  อยู่ร่มเกล้ามาก่อนหมอภักดีจึงอาสาสมัครไปอยู่ร่มเกล้ากับเขาด้วยคนหนึ่ง  ผมคิดว่าเป็นโอกาสดีที่สุดในชีวิตที่จะได้เห็นปืนใหญ่ ตัวเองก็ไม่มีห่วงอะไรในชีวิต ครอบครัวก็ยังไม่มี ผมต้องไปรักษาการที่โรงพยาบาลนาแห้วด้วย   โรงพยาบาลมาอยู่อีกที่เพื่อให้พ้นจากวิถีกระสุนปืนใหญ่ ปืนใหญ่นี่ยิงข้ามหัวผมทุกวัน แต่ผมก็ยังเล่นวอลเล่ย์บอลอยู่เพราะเราเริ่มชินแล้ว หมอจิ๋วเล่าถึงเหตุการณ์ระทึกขวัญครั้งก่อน เป็นประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิตที่ทำให้เจ้าตัวได้รู้จักผู้คนเพิ่มขึ้นอีกมากมาย 
หลังจากอยู่ภูเรือ    ปี  หมอภักดีย้ายเข้ามาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๒  ขณะนั้นทั้งโรงพยาบาลไม่มีหมอ  เนื่องจากขอย้ายกันออกไปหมด  ต่อมาจึงมีหมอรุ่นน้องมาอีกสองคน  โรงพยาบาลมีตึกเพียงตึกเดียว  เตียงผู้ป่วย  ๓๐  เตียง พื้นที่โดยรอบเป็นดงรกชัฏด้วยป่าหญ้า  ป่าพริก  ผอ.  คนใหม่ทำงานในหน้าที่ตรวจรักษาคนไข้  ทำผ่าตัดบ้าง  เวลานอนเหนือจากนั้นก็หาความสุขเพลิดเพลินใจกับการเล่นกีฬา  ทั้งวอลเลย์บอล  ฟุตบอล  ทำให้สนุกและไม่เหงา  ผลดีของการเล่นกีฬาทำให้หลับสบาย กีฬายังเชื่อมสัมพันธ์โดยที่เจ้าตัวไม่ต้องกินดื่มให้เมามาย  ทำให้ได้เพื่อนอีกมากมาย  ทั้งคู่ไม่คิดโยกย้ายไปไหน
หมอภักดีบอกว่าตนเองไม่ใช่คนมีอุดมการณ์มากมายมาก่อนแต่มีแรงกระตุ้นพิเศษในช่วง  ๒-๓  ปีแรกของการทำงานมีผู้ใหญ่ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมาอยู่คนหนึ่งไม่ยอมรับตน  ขณะที่ตนต้องทำงานให้หนักทำงานให้ดี  เพื่อพิสูจน์ตัวเองให้ผู้ใหญ่คนนี้ยอมรับ  และในที่สุดก็ทำสำเร็จ  หลังจากใช้เวลาเพียง ๒-๓  ปีที่ด่านซ้าย  ผอ.  คนใหม่ก็สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้เป็นที่กล่าวขวัญถึง  เมื่อได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นของกองทุนกนกศักดิ์  พูนเกสร  ในปี  พ.ศ. ๒๕๓๕  และรางวัลจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชก้าวหน้าดีเด่น  ในปี  พ.ศ. ๒๕๓๗  ตามมาด้วยรางวัลคนไทยตัวอย่างในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๘  และรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น  ปี พ.ศ.  ๒๕๔๙  อำเภอด่านซ้ายมีประชากรราว    หมื่นคน  โรงพยาบาลมีเตียงผู้ป่วย  ๖๐  เตียง  มีคนไข้นอกวันละประมาณ  ๒๗๐ คน  มีแพทย์หกคน  ศูนย์ประกันสุขภาพ ของโรงพยาบาลมีหน้าที่สำคัญคือ  จัดการหาสิทธิให้คนไข้  เพื่อคนไข้จะได้ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษา  แม้แต่คนลาวที่มาใช้บริการ  ที่นี่ก็ยังพยายามหาสิทธิให้ คือสิทธิคนต่างด้าว ฯลฯ  สุดท้ายถึงผู้ป่วยไม่มีสิทธิอะไรที่โรงพยาบาลจะไปเรียกเก็บจากหน่วยงานของรัฐได้  แต่อาศัยสิทธิของความเป็นมนุษย์  โรงพยาบาลมีนโยบายว่าต้องช่วยเหลือ  เพื่อมนุษยธรรม  ผู้ป่วยบางรายมีรายได้น้อย  ไม่มีเงินมาโรงพยาบาลตามนัดในคราวหน้า  หรือต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลอื่นที่ไกลออกไป  โรงพยาบาลจะช่วยดูแลเรื่องค่ารถให้  โดยใช้เงินกองทุนของสมเด็จพระเทพฯ  ขณะที่ผู้ป่วยบางรายที่เดือดร้อน  ช่วยตนเองไม่ได้  โรงพยาบาลจะเป็นธุระส่งเรื่องไปขอความร่วมมือจาก  อบต.  ในพื้นที่ให้ช่วยดูแลต่อ  ผู้ป่วยที่นี่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ  ไม่มีการใช้ยาสองมาตรฐาน  การให้บริการคำนึงถึงผู้ป่วยเสมอ  คนไข้เบาหวานที่มารับการฉีดอินซูลินจะเลือกใช้เข็มที่เป็นปากกาฉีด  เพื่อจะได้ไม่เจ็บเหมือนเข็มทั่วไป  คนไข้เบาหวานที่ต้องมาเจาะเลือดหาระดับน้ำตาล  หลังเจาะเลือดต้องตรวจกว่าจะเสร็จก็กินเวลานาน  ทางโรงพยาบาลมีอาหารเช้าบริการ  โดยเงินค่าอาหารสนับสนุนจากกองทุนผู้สูงอายุ  เทคนิคการบริหารของที่นี่มีการนำเรื่องสื่อสารสนเทศเข้ามาช่วย  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวก ปกติโรงพยาบาลทั่วไปจะมีการลงทะเบียนผู้ป่วยที่จุดเดียว  ทำให้คนไข้ไปกระจุกกันที่ห้องบัตร ต้องเสียเวลารอนาน แต่ที่ด่านซ้ายมีการกระจายการลงทะเบียนหลายจุดเป็นการช่วยประหยัดเวลาให้กับคนไข้  ที่นี่คำนึงถึงความสะดวกของผู้ป่วยและการให้บริการเป็นหลักปกติโรงพยาบาลทั่วไปจะแบ่งเป็นวอร์ดหญิงและวอร์ดชาย  แต่สำหรับที่นี่จะแบ่งคนไข้ตามอาการผู้ป่วยได้เสมอ  เพราะเชื่อว่าญาติเท่านั้นที่จะดูแลผู้ป่วยและให้ความอุ่นใจกับผู้ป่วยได้ดีที่สุด  ไม่ใช่บุคลากรการแพทย์อย่างหมอหรือพยาบาล 
ดูเหมือนว่าผู้ป่วยทุกชีวิตคือศูนย์กลางของความสำคัญที่โรงพยาบาลพยายามใสใจดูแล  ที่นี่ชีวิตผู้ป่วยทุกชีวิตมีคุณค่า  ไม่ใช่เพียงเพราะเป็นผู้ป่วยที่ต้องดูแลตามหลักเมตตาธรรม  หากสายสัมพันธ์ที่โอบเอื้อต่อกันมายาวนานนับสิบปีระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน  ทำให้รู้สึกเหมือนญาติมิตรร่วมเรือนมากกว่าจะเป็นเพียงสัมพันธ์ของหมอกับผู้ป่วยที่แปลกแยกห่างเหินกัน
ความสัมพันธ์อันอบอุ่นดุจญาติเช่นนี้  ในระบบสาธารณสุขจะพบได้ก็แต่ที่อนามัยหรือโรงพยาบาลชุมชน  ซึ่งเป็นหน่วยบริการเล็ก ๆ เท่านั้น  นี่คือเสน่ห์ที่หมอชนบทหลายรายรู้สึกอุ่นใจแบะมีความสุขจนไม่คิดจะโยกย้ายไปไหน...  หน้าตึกเชวง-ไน้  เคียงศิริ  เป็นสนามหญ้าสีเขียว  มีกลิ่นดอกปีบหอมเย็นลอยมากับสายลมรื่น  ภายในอาคารดูโปร่งโล่ง  สว่าง  และมีอากาศถ่ายเท  แม้จะเป็นตึก  แต่อาคารก็มีใบไม้เป็นส่วนประกบ  ช่วยให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและสบาย  อาคารนี้เป็นตึกสองชั้น  ให้บริการด้านล่างเป็นห้องนวดและกายภาพบำบัด  ส่วนชั้นบนเป็นวอร์ดคุณแม่หลังคลอด  มีอีกปีกหนึ่งเป็นห้องพิเศษ  วอร์ดนี้มีการกั้นห้องที่ต่างจากโรงพยาบาลอื่นทั่วไป  เป็นการออกแบบให้มีความเป็นส่วนตัวขึ้น  โดยมีผนังกั้นเป็นสัดส่วน  แต่ไม่ได้แยกเป็นห้อง  มีเก้าอี้โซฟาสำหรับญาตินอนเฝ้าได้  ผู้ป่วยและญาติเตียงข้าง ๆ สามารถเดินไปมาถึงกันได้  การออกแบบเช่นนี้สะท้อนแนวคิดของหมอภักดีที่ว่าคุณแม่หลังคลอดไม่ควรอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังหากได้พูดคุยสื่อสารกับคุณแม่และญาติเตียงอื่น ๆ จะทำให้สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน เป็นการเสริมสร้างให้บรรยากาศอบอุ่นและเป็นสังคมย่อม ๆ ของความเป็นญาติเป็นมิตรกัน  แม่ใหม่บางทีเขาจะขาดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น  น้ำคาวปลามีปัญหา เจ็บแผลมาก  จะกินอะไรดี  น้ำนมไม่มา  ปัญหาแบบนี้ตำราหมอไม่ได้เขียนไว้  บางทีเขาจะกังวลใจ  แต่ผมเชื่อว่าปัญหานี้จะได้รับการแก้ไข  ถ้าเตียงนี้คุยกับเตียงโน้น  เขาได้พูดคุยกัน อย่างนี้ทำให้เขารู้สึกมีญาติเยอะขึ้น  บางคนญาติน้อย  คอบครัวเล็ก  ก็จะได้อุ่นใจขึ้นเราไม่ได้ห่วงเรื่องของความสะอาดมากมายนัก ผมคิดว่าความอบอุ่นและการได้แลกเปลี่ยนวิธีการดูแลลูก  สำคัญพอ ๆ กับการที่เขาจะติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ  ภาพที่เห็นพ่อแม่ช่วยกันดูแลลูก  สำคัญพอ ๆ กับการที่เขาจะติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ  ภาพที่เห็นพ่อแม่ช่วยกันดูแลลูก  ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับญาติรายอื่น  เป็นภาพที่ดี  ผมมองว่าเวลาไปคลอดแล้วนอนห้องพิเศษมันอึดอัด  ถึงจะมีหมอ  พยาบาลดูแล  แต่ผมเชื่อว่าชาวบ้านต้องการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลด้วยเช่นกัน  หมอภักดีให้ข้อเห็น  การทำงานที่นี่มักมีแนวคิดนอกกรอบเสมอ  หากโรงพยาบาลเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย  เพราะมิติทางจิตใจเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่ามิติทางสุขภาพ  ปกติคนพื้นที่ด่านซ้ายมักนิยมอยู่ไฟหลังคลอด  และกินยาสมุนไพร  แต่ปัญหาคือคุณแม่หลังคลอดต้องอยู่โรงพยาบาล    วัน  เป็นอย่างน้อย  ทำให้ไม่สามารถกินยาสมุนไพรต้มได้  สมุนไพรนี้คือ  ยาข้าวเย็น  ชาวบ้านเชื่อว่ามีประโยชน์  ทำให้มีน้ำนมดี  คุณแม่หลังคลอดเกิดความกังวล  ทางโรงพยาบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการต้มยาสมุนไพรนี้ไว้ให้  นอกจากเป็นการเคารพภูมิปัญญาพื้นบ้านแล้ว  ยังทำให้คุณแม่และครอบครัวคลายความกังวลใจ 
โรงพยาบาลด่านซ้ายมีพนักงานทำความสะอาดที่โรงพยาบาลคัดเลือกเอง  พนักงานเหล่านี้มีทั้งหมดเจ็ดคน  เป็น อสม.  ทั้งหมด  นอกจากช่วยให้ อสม. มีรายได้แล้ว ยังถือว่าการให้คนที่มีความรู้ ความศรัทธาเกี่ยวกับสุขภาพเข้ามาทำงานในโรงพยาบาล  แม้จะเป็นเรื่องของความสะอาดที่มองดูเหมือนเป็นจุดเล็กน้อย  แต่พื้นฐานของ  อสม. น่าจะมีความใส่ใจในการทำงานมากกว่าพนักงานบริษัททั่วไป
โรงพยาบาลให้ความใส่ใจในคุณค่าชีวิตของผู้พิการมีการจ้างผู้พิการเข้าทำงานดูแลห้องสมุด  และช่วยลงฐานข้อมูลงานบางส่วนในคอมพิวเตอร์  ทั้งยังช่วยงานในฝ่ายกายภาพบำบัด  ผู้พิการรายนี้คือน้องไผ่  หนุ่มวัย  ๒๐  ต้น เคยทำงานรับส่งเอกสาร  เมื่อประสบอุบัติเหตุกลายเป็นคนพิการท่อนล่าง ต้องใช้ชีวิตอยู่บนวีลแชร์  แต่สมองยังดีและสามารถทำงานช่วยตนเองได้  ทุกวันนี้หนุ่มน้องมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น  และช่วยพี่นักกายภาพบำบัด  แต่เมื่อโรงพยาบาลสำรวจพบผู้พิการและผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดในสมองตีบจำนวนมาก  ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องอาศัยการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพ  แต่ขณะนั้นโรงพยาบาลยังไม่มีทั้งสถานที่และนักกายภาพ  เมื่อเห็นความจำเป็นของงานกายภาพบำบัด  ทำให้โรงพยาบาลต้องหางบประมาณมาก่อสร้างตึกใหม่  เป็นจังหวะของความโชคดีที่หมอภักดีได้พบกับคุณเพ็ญศรีและคุณไพศาล  สุขุมพานิช  ที่ปรากฏอยากทำบุญกับโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเจ็บ  ตึกเชวง-ไน้ เคียงศิริ  จึงเกิดขึ้นด้วยแรงศรัทธาของคุณเพ็ญศรี  และครอบครัว  ปัญหาต่อมาคือโรงพยาบาลไม่มีทั้งตำแหน่งและงบประมาณในการจ้างนักกายภาพบำบัด  เมื่อปรึกษากับทางชมรมผู้สูงอายุ คุณตาสมเดช  สิงห์ประเสริฐ  ประธานชมรมฯ  ให้ความเห็นว่า  หากให้สมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่ร่วม ๒,๐๐๐ คนช่วยกันบริจาคคนละบาททุกวันน่าจะรวบรวมเงินได้เป็นกอบเป็นกำ  เพื่อจ้างนักกายภาพบำบัดมาทำงานได้  เมื่อหมอภักดีบอกเล่าความคิดนี้ในที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านทุกคนเห็นด้วยดี  หลังจากใช้เวลาเก็บเงินอยู่ ๑ ปี เงินเหรียญบาทเก่า ๆ จากน้ำใจของคุณลุงคุณป้าผู้สูงอายุกลุ่มนี้ก็ได้รับการรวบรวมได้เงินร่วม    แสนบาท  สามารถนำมาจ้างนักกายภาพบำบัดทำงานตามที่ตั้งใจไว้   คุณตาสมเดชยังจำได้ว่าวันที่นำเงินมากองรวมกัน  ทุกคนต้องช่วยกันนับ  ไม่น่าเชื่อว่าเงินแค่วันละบาท  เมื่อทุกคนรวมกันจะเป็นเงินก้อนได้มากถึงขนาดนี้ และที่น่าประทับใจกว่านั้นก็ตรงที่เป็นเงินของคุณป้าคุณลุงผู้สูงวัยที่ร่วมกันเก็บออม...
จากตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานมา  ๑๑  ปี  ด้วยเงินกองทุนของชมรมผู้สูงอายุถึงวนนี้  นักกายภาพบำบัดคนแรกของโรงพยาบาลเพิ่งมีอัตราบรรจุเข้าเป็นข้าราชการเมื่อไม่นาน  ปัจจุบันห้องกายภาพบำบัดมีนักกายภาพบำบัดสองคน  ทำงานร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดอีกหนึ่งคน  สามารถดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุได้มากเป็นการเติมการให้บริการที่สามารถขยายขอบเขตงานได้อย่างที่หมอภักดีเองก็นึกไม่ถึง
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อดูแลผู้พิการไประยะหนึ่ง  พบว่าผู้พิการไม่มีรายได้  ทำให้รู้สึกด้อยค่าในตนเอง  ทางโรงพยาบาลจึงรวมกลุ่มผู้พิการตั้งเป็นกลุ่มพุทธรักษา สอนผู้พิการทำผลิตภัณฑ์  เช่น  แชมพู  น้ำยาล้างจาน  ยาสระผม  และประคบสมุนไพร  ทำให้ผู้พิการพอมีรายได้ และถึงพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง  ผลิตภัณฑ์พวกนี้ราคาถูกกว่าท้องตลาด  นอกจากนำมาใช้ในโรงพยาบาลแล้ว  รีสอร์ตข้างเคียงยังเป็นลูกค้าช่วยอุดหนุนผลิตภัณฑ์ผู้พิการด้วย  แม้แต่ผู้ป่วยโรคจิต  ทางโรงพยาบาลยังมีการรวมกลุ่มกันทำลูกประคบสมุนไพร  นอกจากถือเป็นการฝึกสมาธิ  ช่วยให้จิตใจสงบเย็นขึ้นแล้ว ยังช่วยฝึกกล้ามเนื่องและเสริมรายได้ให้กับผู้ป่วย  ระบบของโรงพยาบาลยังมีทีมสหวิชาชีพ  เป็นทีมที่ร่วมกันดูแลช่วยขจัดปัญหาความทุกข์ยากของชาวบ้าน  หลายกรณีโรงพยาบาลต้องหาที่เรียน  หาอาชีพเสริมให้ครอบครัวที่เดือดร้อนลำบาก  โดยประสานกับเครือข่ายต่างๆ อย่างสนใจและเอื้ออาทร  ทุกปีที่เจ้าหน้าที่ใหม่เข้ามาทำงาน  เป็นธรรมเนียมว่าทางทีมงานพี่เก่าจะพาน้องใหม่ไปเข้าค่าย  ทำกิจกรรมในหมู่บ้านไกล ๆ ปีละหน  เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีมและเรียนรู้ชีวิตชาวบ้าน  บุคลากรของโรงพยาบาลด่านซ้ายมิใช่เพียงทำหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุข  หากยังทำหน้าที่ในหลากมิติ  ทั้งสวมบทบาทนักพัฒนา  นักสังคมสงเคราะห์  นักอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ  โดยยึดหลักว่าทุกหน้าที่ที่กระทำ  มีเป้าหมายอยู่ที่ประโยชน์สุขของผู้คนในชุมชนเป็นสำคัญ...  ความที่ผอ.  มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก  เนื่องจากเป็นคนชอบกิจกรรมดังนั้นที่นี่จึงมีเครือข่ายจากภายนอกที่เข้ามาศึกษาดูงานและมีส่วนช่วยเหลืองานของโรงพยาบาล  เช่น  วันวานที่หมอภักดีพาพนักงานของซิตี้แบงก์ออกไปร่วมกิจกรรม  เพื่อเรียนรู้ชีวิตที่โรงพยาบาลและชุมชนท้องถิ่น  มีการพากรุ๊ปนี้ไปทำกิกรรมพัฒนาแก่งสองคอนซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวในด่านซ้าย  และพามาช่วยงานกลุ่มพุทธรักษา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้พิการในการบรรจุผลิตภัณฑ์  ร่วมดูแลเด็กพิการด้วยการช่วยทำเก้าอี้ง่าย ๆ ให้เด็กกลุ่มนี้ซึ่งมีกันอยู่  ๒๐  กว่าคน  หมอยังพากรุ๊ปนี้ไปทำกิจกรรมเกี่ยวข้าว  และร่วมจัดรายการวิทยุชุม ช่วยเก็บขยะที่ภูเรือ  ฯลฯ  กิจกรรมเหล่านี้มิใช่หน้าที่โดยตรงของโรงพยาบาล  แต่หมอภักดีถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เสริมสร้างการเรียนรู้ชีวิต  และเป็นการเปิดโลกใหม่  ทำให้หนุ่มสาวในโลกยุคใหม่ของกรุงเทพฯ ได้รู้จักชีวิตจริงของผู้ด้อยโอกาสและทุกข์ยากลำบาก  เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ในการดูแลช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสต่อไปในวันข้างหน้า  โรงพยาบาลมีระบบปลีกย่อยที่หลากหลายในการดูแลผู้ป่วยทุกชีวิตอย่างเอื้ออาทร เช่น ผู้ป่วยเบาหวานรายนี้เป็นพิเศษ  การดูแลผู้ป่วยก็เหมือนกับการใส่เสื้อมันคงไม่พอดีกับทุกคน วันหนึ่งถ้าเราเป็นหนึ่งในห้าหมื่นคนที่เป็นปัญหา เราจะรู้สึกอย่างไร หมอภักดีให้ข้อคิดเห็น  สำหรับคนบ้านนอกไกลปืนเที่ยงอย่างด่านซ้าย  หากป่วยเป็นโรคหัวใจ  การเข้าถึงหมอไม่ใช่เรื่องง่าย  ผู้ป่วยหลายรายต้องรอคิวฝ่าตัดต้องการเครื่องเอกโค่สำหรับตรวจสภาพการทำงานของหัวใจ  แม้แต่ที่โรงพยาบาลจังหวัดเลยยังไม่มีอุปกรณ์นี้  การจะให้คนไข้ไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ขอนแก่น  ที่ห่างออกไป  ๓๐๐  กิโล  กว่าจะไปถึงยากลำบาก  สิ้นเปลืองทั้งเงินตราและเวลา  บางครั้งผู้ป่วยต้องไปรอหมอหลายครั้งก็ยังไม่ได้มีโอกาสพบ  ในที่สุดคนไข้ท้อแท้  หมดกำลังใจ  ทำให้จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจของโรงพยาบาลสะสมมาเรื่อย  แต่การยอมจำนนโดยไม่ทำอะไรเลยไม่มีในระบบของที่นี่  การมีเครือมีพันธมิตรที่ดีทำให้หมอภักดีมีทางออกสวยงามให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยประสานกับนายแพทย์รังสฤษฏ์  กาญจนะวณิชย์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจของโรงพยาบาลสวนดอก เชียงใหม่  ให้มาช่วยตรวจและคัดกรองผู้ป่วย  หมอหม่องมีหัวใจของการอนุรักษ์ธรรมชาติเช่นกับหมอภักดี  ก่อนหน้านี้เคยมาบรรจุเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลด่านซ้าย  และเป็นมิตรสนิทของหมอภักดีและหมอป้อม  ภรรยา  ด้วยมิตรภาพที่มีต่อกันและด้วยน้ำใจที่อยากช่วยเหลือผู้ป่วย  หมอหม่องจึงยินดีมาช่วยผู้ป่วยกลุ่มนี้  ดังนั้นทุกเดือนตุลาคมของทุกปี  คุณหมอทิพพาวดี  หรือหมอป้อม  ซึ่งเป็นอายุรแพทย์ของโรงพยาบาลจะนัดผู้ป่วยโรคหัวใจประมาณ  50 60 คนที่ตนดูแลมารับการตรวจจากหมอหม่อง โดยหมอหม่องจะประสานกับเพื่อนนำเครื่องตรวจสภาพการทำงานของหัวใจโดยใช้คลื่นความถี่เสียงเคลื่อนที่มาตรวจให้ถึงที่ หลังทำการคัดกรองเสร็จ จะส่งต่อผู้ป่วยไปผ่าตัดกับเพื่อนของหมอหม่องที่โรงพยาบาลใหญ่หลายแห่ง ทั้งต่างจังหวัดและที่กรุงเทพฯ เฉพาะปีนี้มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดไปแล้วสามสี่ราย 
หมอหม่องสละเวลาในช่วงเดือนตุลาฯ  ของทุกปีมาช่วยผู้ป่วยที่นี่ได้  4  ปีแล้ว  โดยพ่วงภรรยาที่เป็นหมอเด็กมาช่วยตรวจผู้ป่วยเด็กด้วย  เครือข่ายที่หมอภักดีและทีมงานสร้างสานไว้ยังมีอีกหลายราย  เช่น  หมอวีรพันธ์  ธนาประชุม  แห่งโรงพยาบาลคริสเตียน  ชัยนาทมโนรมย์  ที่ช่วยมาผ่าตัดตาต้อกระจกที่นี่ได้  24  ปีแล้ว  นายแพทย์ศัลยเวทย์  เลขะกุล  แห่งมูลนิธิหู  คอ  จมูก  ก็มาช่วยผ่าตัดแก้ไขความพิการทางหู  คอ  จมูก  มาสี่หนแล้ว  ฯลฯ
ถึงเราจะเป็นโรงพยาบาลเล็ก ๆ แต่ถ้าเรามีเครือข่ายกับคนที่มีแนวคิดร่วมกัน พอมีช่องทางเราก็จะช่วยเหลือกัน จะเห็นว่าไม่ได้มีเงินเป็นตัวตั้ง มีแต่ลงแรงอย่างเดียว คุณหมอพวกนี้เวลามาทำงานช่วยเราไม่มีคำสั่งมานะครับ เขาเอาใจมาอย่างเดียว คุณหมอภักดีเล่าถึงเครือข่ายการแพทย์ที่น่าประทับใจ   การมีเครือข่ายที่ดี  ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถทำงานให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยได้ครอบคลุมมากขึ้น  ผู้ป่วยจำนวนมากได้รับ  โอกาส ที่เปิดกว้างอย่างน่าชื่นใจ ด้วยความใส่ใจขวนขวายของบุคลากรโรงพยาบาลและเมตตาธรรมของคุณหมอจากภายนอก...  ที่นี่ไม่มีจิตแพทย์ประจำ  แต่ด้วยการสร้างระบบเครือข่าย  ทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือน  จะมีจิตแพทย์จากโรงพยาบาลราชนครินทร์เลย  มาตรวจรักษาผู้ป่วยจิตเวช  เนื่องจากผู้ป่วยไม่สะดวกไปตรวจรักษาที่ตัวจังหวัด  เพราะไม่สามารถไปหาหมอได้ตามลำพัง  ต้องมีญาติไปด้วย  ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  จิตแพทย์จากโรงพยาบาลราชนครินทร์  เลย  สละเวลามาช่วยตรวจผู้ป่วยที่นี่ได้  4  ปีแล้ว  ทางฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวของโรงพยาบาลยังมีการคัดกรองผู้ป่วยจิตเวช  โดยแบ่งระดับตามอาการตั้งแต่น้อยไปมาก  โดยแบ่งเป็นติดตามผลปีละครั้ง  ทุก  3  เดือน  และทุกเดือน  สำหรับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจะติดตามใกล้ชิดทุก  2  สัปดาห์  ในด้านของบุคลากร  ทีมงานของโรงพยาบาลเป็นทีมงานที่เข้มแข็ง  และมีใจเดียวกัน  หมอภักดีชี้ว่าหากเอาเงินเป็นตัวกำหนดบุคลากรที่นี่คงจากไปอยู่ที่อื่นหมดแล้ว  ที่นี่ไม่มีเงินทองมากมาย  ทุกวันนี้โรงพยาบาลยังเป็นหนี้อยู่  10  ล้าน  แต่ที่นี่มีสังคมที่ดีให้  มีงานที่ทำแล้วมีความสุข...  ที่โรงพยาบาลด่านซ้าย  ผู้มารับบริการตลอดจนผู้มาศึกษาดูงานสามารถสัมผัสได้ถึงระบบการแพทย์ที่เอื้อในเรื่องมนุษยธรรมให้กับผู้ป่วยเสมอการแพทย์ที่เอื้อต่อความเป็นมนุษย์ในความหมายของผู้อำนวยการนักพัฒนาผู้นี้ต้องคำนึงถึงหลักสองประการ  คือการบริการต้องเป็นธรรมชาติที่สุด  โดยคำนึงถึงผู้ให้และผู้รับ  เป็นหลักธรรมชาติง่าย     ที่อยู่ร่วมกัน  พึ่งพากันทั้งสองฝ่าย  ผอ.  มีความจำดี  ช่างสังเกต  มีจิตวิทยาในการใส่ใจ  เข้าถึงจิตใจผู้ป่วย  การทักทาย  ยิ้มแย้มแจ่มใส  สอบถามสารทุกข์สุกดิบทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดี  นี้คือส่วนหนึ่งของความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการรักษาอย่างเดียว  หากทำให้คนไข้รู้สึกอบอุ่นใจ  เหมือนญาติมิตร  ผมไม่ใช่คนมีปรัชญาชีวิตอะไร  วันนี้ผมมีชีวิตได้เพราะทำงานตามหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและเป็นธรรมชาติ  พยายามเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ผมฝันอยากเห็นด่านซ้ายเป็นแหล่งรวมของคนที่มีจิตใจเพื่อผู้อื่นในทุก    เรื่อง  ทั้งเรื่องการท่องเที่ยว  การพัฒนา  การศึกษา  การเกษตร  การทำเพื่อเด็ก    โดยโรงพยาบาลเป็นตัวเชื่อม  อยากให้ด่านซ้ายกลายเป็นเมืองของคนที่เอื้ออาทรต่อกัน”  แม้จะดูแลใส่ใจผู้ป่วยเพียงใด  แต่ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้เสมอ  ในปี  พ.ศ.  2541  ผู้ป่วยชายรายหนึ่งมาหาหมอด้วยอาการเจ็บคอจากทอนซิลอักเสบ  คุณหมอที่โรงพยาบาลสั่งฉีดยาเพนนิซิลินให้แต่คนไข้แพ้ยาอย่างรุนแรง  จนเสียชีวิตคาเข็ม  ทั้งหมอ  พยาบาลตกใจมาก  สิ่งที่ผู้อำนวยการคือหมอภักดีปฏิบัติ  คือเดินทางไปหาครอบครัวผู้เสียชีวิตที่บ้านทันที  ไม่มีคำพูดใดดีไปกว่าการแสดงความเสียใจและคำขอโทษ  ยอมรับในความผิดพลาด  และพร้อมจะแสดงความรับผิดชอบครอบครัวนี้ฐานะยากจน  ทางโรงพยาบาลเรี่ยไรเงินช่วยเหลือครอบครัวจำนวนหนึ่ง  ภรรยาผู้ตายห่วงกังวลเรื่องการศึกษาของลูกสามคนที่ยังเรียนอยู่  ผอ.โรงพยาบาลด่านซ้ายแสดงความรับผิดชอบตามที่ได้ลั่นวาจาไว้  ด้วยการส่งลูกชายของครอบครัวคนไข้เรียน  ปัจจุบันหนุ่มน้อยรายนี้แต่งงานแล้ว  หมอยังส่งน้องสาวเรียนต่อ  โดยฝากให้อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่และพักอยู่ด้วยกันในโรงพยาบาล   เมื่อโรงพยาบาลได้รับโควตาทุนนักศึกษาพยาบาล  น้องมะลิวัลย์  ลูกสาวของครอบครัวนี้เป็นคนหนึ่งที่หมอสนับสนุนให้ได้รับทุน  นี่คือการแก้ไขปัญหาด้วยการยืดอกรับผิดชอบ  คือการช่วยเหลือครอบครัวผู้จากไปอย่างดีที่สุดมิใช่การปฏิเสธความรับผิดชอบ ทำให้ครอบครัวผู้จากไปคับแค้นใจจนนำไปสู่การฟ้องร้องอย่างที่เป็นข่าวคราวอื้อฉาวกันในปัจจุบัน  หมอป้อม  ภรรยาผู้เป็นกำลังหลักในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างขยันขันแข็ง  บอกเล่าว่าแม้จะมีหมอหกคน  แต่คนไข้ก็มาก  มีบางพื้นที่  เช่น  บ้านกุด  ตำบลกกสะทอน  เป็นไทยภูเขา  ผู้สูงอายุพูดไทยไม่ค่อยได้  ต้องอาศัยล่าม  นอกจากคนในพื้นที่ด่านซ้ายแล้ว  ยังมีคนในพื้นที่ใกล้เคียง  เช่น  นาแห้ว  ภูเรือ  และบ่อปูของอำเภอนครไทย  เพชรบูรณ์มารักษาด้วย  เนื่องจากใกล้โรงพยาบาลที่นี่มากกว่า  ยังมีคนลาวจากบ้านปากไหมที่ข้ามแม่น้ำมา  เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีโรงพยาบาลจึงต้องให้บริการการรักษาผู้ป่วยที่นอกเหนือจากคนในพื้นที่อีกจำนวนไม่น้อย  หมอป้อมมีความสุขกับการทำงานที่นี่และได้รับความรัก  ความศรัทธาจากชาวบ้านอย่างเต็มเปี่ยม  ๑๐ กว่าปีของการทำงานในพื้นที่เธอผูกพันกับชาวบ้าน  และอบอุ่นใจ  พอใจกับชีวิตที่นี่  เราอยู่มานาน  จนรู้สึกไม่ต้องปรับตัวแล้ว  รู้จักคนไข้ดี  รู้วิถีชีวิตของเขา  เรายังได้ใช้วิชาความรู้ของเราเต็มที่  เรื่องทีมงานก็สำคัญมาก  ถ้าเราทำงาน แต่ไม่มีพยาบาลดี ๆ ไม่มียาดี ๆ หรือไม่มีเภสัชกรดี ๆเราคงทำไม่ได้  ทีมงานที่ดีช่วยทำให้เรารักษามีมาตรฐานและเป็นไปได้ง่ายขึ้น  ที่นี่ทำงานแล้วสนุก  ผู้บริหารก็ให้การสนับสนุน  มีทรัพยากรที่ดี  ทีมงานดี  ทำแล้วเห็นผล  คนทำงานก็พอใจ”  ข้างโต๊ะทำงานของหมอป้อม  มีถุงมะขามหวานถุงใหญ่วางอยู่นั่นคือของฝากจากคนไข้เบาหวานที่สั่งให้ลูกหลานไว้เป็นนักหนาก่อนตายว่าถึงหน้ามะขามหวานออกอย่าลืมเอามาฝากคุณหมอด้วย

คนไข้ที่นี่มีน้ำใจกับเรา เราทำผิดทำพลาดอะไรไปก็ไม่ถึงกับฟ้องร้อง พูดกันเข้าใจ เราเยียวยาเขาได้ เขาก็เยียวยาเราได้ เราทำเขาตายโดยไม่เจตนา ญาติตาก็ไม่โกรธ เขาก็เห็นใจว่าหมอทำดีที่สุดแล้วขนาดตายไปแล้วยังฝากของมาให้เราอยู่ หมอป้อมพูดถึงคนไข้ของเธออย่างซึ้งในน้ำจิตน้ำใจ...

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย  ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเด็ก  เช่นกิจกรรมการอ่านและการเล่านิทานให้เด็กฟัง  เริ่มแรก  ทันตแพทย์วัฒนา  ทองปัสโณว์  ทำห้องสมุดสำหรับเด็กขึ้นในโรงพยาบาล  และจัดเทศการนิทานให้กับครอบครัวเจ้าหน้าที่ก่อน  พบว่ากิจกรรมนี้ทำให้ครอบครัวอบอุ่นขึ้น  พ่อบางคนที่เคยกินเหล้า  สูบบุรี่สามารถเปลี่ยนตนเองมาเป็นคุณพ่อคนใหม่ที่อยู่ติดบ้าน  คอยอ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อนนอน

เมื่อหมอวัฒนาได้ไปออกหน่วยอนามัยโรงเรียน  พบว่าโรงเรียนในพื้นที่ด่านซ้าย  ๖๐  โรง  มีทักษะเรื่องการอ่านหนังสือสำหรับเด็กน้อยมาก  จึงพาครูและผู้ดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียนซึ่งมีอยู่ประมาณ  ๔๐  ศูนย์มาอบรมเรื่องการดูแลเด็ก  รวมทั้งนำผู้ปกครองเด็กมาร่วมกิจกรรมร่วมกัน  การเล่านิทานเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการเด็กมีวิทยากรมีชื่ออย่างอาจารย์ชีวัน  วิสาสะ  อาจารย์พรอนงค์  นิยมค้า  ฯลฯ  มาร่วมกิจกรรมด้ง  หลังจากทำกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านมาอย่างต่อเนื่องยังต่อยอดด้วยการทำโครงการบุ๊คสตาร์ท  หนังสือเล่มแรกของหนู  ในปี  พ.ศ.  2547  มีมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก  และมูลนิธิซิเมนต์ไทยให้การสนับสนุน  คุณแม่รายใดที่มาฝากท้อง  ทางโรงพยาบาลจะนัดให้พาพ่อมาด้วย  เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมก่อนคลอดร่วมกัน   หลักจากลูกคลอดได้  6  เดือน  พ่อแม่จะพาลูกมารับการฉีดวัคซีน  เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้พ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกฟัง  โดยมีหนังสือนิทานเด็กให้ยืมได้ครั้งละสามเล่ม  โรงพยาบาลจะแจกถุงผ้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านด่านซ้าย  ภายในใส่หนังสือและของเด็กเล่น  เพื่อฝึกพัฒนาการให้เด็กรู้จักหยิบจับ  เป็นการฝึกหัดที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก  นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการที่เด็กได้ยินเสียงพ่อแม่อ่านเล่านิทานให้ฟัง  ก่อให้เกิดความสุข  และเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นในครอบครัว   กระเป๋าเล็ก    ใส่กิฟต์เซตที่แจกสำหรับคนไข้ห้องพิเศษของโรงพยาบาล  ก็เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้านด่านซ้าย  ถือเป็นการอุดหนุนผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น  เพื่อเพิ่มรายได้ให้กลุ่มแม่บ้าน

ขณะนี้มีเด็กที่เข้าร่วมโครงการบุ๊คสตาร์ทประมาณ  100 200 คน อยู่ในวัยแรกเกิด - 5 ขวบ มีฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครง พอเราทำบุ๊คสตาร์ทได้  กิจกรรมวาดภาพก็จะตามมา  เด็กโตขึ้นมาอีกก็จะมีกิจกรรมนักสืบสายน้ำ  กิจกรรมเดินป่าตามมาอีก  จะเห็นว่าผมมอบหมายงานให้คนที่อยู่ในวัยนั้นทำ  ถ้าเจ้าหน้าที่ที่มีลูก  คุณก็ทำงานเรื่องเด็ก  ถ้าคุณมีพ่อแม่แก่    คุณก็ทำงานเรื่องคนชรา คุณกำลังหนุ่มสาว  คุณก็ไปทำกิจกรรมคนหนุ่มสาว  ให้ทุกคนทำงานที่ใกล้ตัวเขาจะรู้สึกได้ว่าได้ประโยชน์โดยตรง ทุกคนเขาจะมีกลุ่มของเขา  เช่น  บางคนชอบเล่นกีฬาก็จะมาดูกลุ่มกีฬา  การทำงานจะเป็นธรรมชาติมากกว่ามาจากการสั่งการ  คุณหมอภักดีกล่าวถึงแนวความคิดเรื่องกิจกรรมที่โรงพยาบาลเปิดพื้นที่ให้เสมอ  โรงพยาบาลพยายามขยายแนวคิดหรือกิจกรรมดี    นี้ให้กับเครือข่ายอื่น    ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน  เทศบาล  อบต.  หรือชุมชน  สิ่งที่น่าภาคภูมิใจคือทางเทศบาลเห็นด้วยกับโครงการสร้างสนามเด็กเล่น  โดยหมอภักดีและทีมงานโรงพยาบาลมีส่วนช่วยออกแบบสนามเด็กเล่นที่ว่า  ราคาสูงถึงราว  2  ล้านบาท  ต่างจากเทศบาลอื่นโดยทั่วไปที่เห็นคุณค่าของสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นมากกว่าจะใส่ใจด้านพัฒนาการเด็กเช่นนี้  แขกไปใครมาจะเห็นแจกันหรือตะกร้าดอกไม้วางกระจายอยู่ตามจุดต่าง    ในโรงพยาบาล  เพิ่มบรรยากาศให้ดูสดชื่นตา  หลายคนอดแปลกใจไม่ได้ว่าดอกไม้สวย    เหล่านี้มาจากไหน  นี่เป็นวัฒนธรรมหนึ่งของชุมชนที่นี่ไปแล้วว่าหลังจากเสร็จงาน  ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน  งานบวช  ฯลฯ  ชาวบ้านจะนำดอกไม้ที่ใช้ประดับในงานมามอบให้ที่โรงพยาบาล  เพื่อนำไปวางตามจุดต่าง    ในอาคาร  ดอกไม้ยังคงบานสดสวย  ช่วยเพิ่มเสน่ห์และสีสันให้ผู้พบเห็นสดชื่นสบายใจไปอีกหลายวัน  แทนที่จะนำไปทิ้งเปล่า    ปลี้    ให้ต้องเสียดายหลังเสร็จงาน...  ด้วยความที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี  ทั้งสภาพภูมิประเทศสวยงามอากาศเย็นสบาย  และมีวิถีชีวิตสงบ  เรียบง่าย  มีวัฒนธรรมเข้มแข็งเป็นชุมชนรักสงบ  มีความปลอดภัยสูง  ที่ด่านซ้ายจึงแทบไม่มีปัญหาเรื่องการฆ่าการปล้น  จนนายตำรวจรายหนึ่งแกล้งบ่นกับผู้เฒ่าผู้แก่ว่ามาอยู่ที่นี่ไม่ต้องทำงานหนัก  ด้วยไม่มีคดีฆ่าแกงกันให้ต้องทำเหมือนที่จังหวัดอื่น  สถิติการตายอันดับ  1  ของคนด่านซ้ายคือโรคชรา  อายุเฉลี่ยของประชากรชายอยู่ที่  76 77  ปี  ผู้หญิงอายุโดยเฉลี่ย  80  ปี  การตายอันดับ  2  คือโรคหัวใจและหลอดเลือด  คนที่นี่เป็นโรคหัวใจโตกันมาก  สันนิษฐานว่าอาจจะขาดวิตามินบี  1  สถิติการตายอันดับ  3  คือโรคมะเร็ง  โดยเฉพาะมะเร็งตับ  ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง  และมีจำนวนมากคือกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน  นอกจากการดูแลด้านคลินิกในโรงพยาบาล  ยังพัฒนาคลินิกเบาหวานที่สถานีอนามัยให้เป็นมาตรฐานเดียวกับที่โรงพยาบาล  โดยหมอป้อม  พยาบาล  และเภสัชกร  จะออกไปทำคลินิกเบาหวานที่สถานีอนามัยทุกวันศุกร์  ยกเว้นวันศุกร์สุดท้ายที่หมอจะสงวนเวลาไว้สำหรับการดำเนินทางกลับมาเยี่ยมลูกที่เมืองนนท์  โรงพยาบาลยังจัดค่ายเบาหวานตามตำบลต่าง    2  วัน  1  คืน  ถือเป็นการลงแขกของคนในองค์กร  แม้จะเหนื่อย  แต่ก็สนุกที่ได้ลงไปคลุกคลีให้ความรู้กับชาวบ้านถึงพื้นที่  เป็นการทำงานเชิงรุกไม่ใช่ตั้งรับอยู่แต่ในโรงพยาบาลสถานเดียว  ดังนั้นสัมพันธ์ระหว่างทีมงานของโรงพยาบาลกับชาวบ้านจึงแน่นแฟ้นเหมือนญาติมิตร  หลังจากเหน็ดเหนื่อยมานานกับการทำงานหนัก  ปัจจุบันระบบงานในโรงพยาบาลได้รับการจัดวางไว้อย่างดีและค่อนข้างลงตัวแล้วหน้าที่ของผู้อำนวยการอย่างหมอภักดีจึงต้องดูแลเรื่องบริหารจัดการออกตรวจผู้ป่วยบ้าง  แต่ไม่ต้องหัวปั่นกับการทำงานหนักอย่างเดิม  มีเวลาสบาย    กับการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่    ให้กับโรงพยาบาลและชุมชนมากขึ้น  หมอมักทำหนังสือที่เป็นวิทยากรให้กับคณะดูงานอย่างภูมิใจและมีความสุข  ปีที่แล้ว  โรงพยาบาลมีการพัฒนางานคัดกรองผู้ป่วย  โดยเจ้าหน้าที่ออกหมู่บ้านคัดกรองคนไข้โรคตากับมะเร็งปากมดลูกไปพร้อมกันการคัดกรองโรคตา  เพื่อให้คุณหมอวีรพันธ์ผ่าตัด  โดยคุณหมอจะมา  3  เดือนต่อครั้ง  เวลาจะคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก  ชาวบ้านมักอายหมออนามัย  เพราะเห็นหน้ากันอยู่ทุกวัน  ต่างจากหมอโรงพยาบาลที่ไม่ได้พบเจอกับบ่อยเท่า  เมื่อตรวจตาเสร็จจึงถือโอกาสตรวจหามะเร็งปากมดลูกไปด้วย  เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งขั้นต้นจะได้รีบรักษาแต่ต้นมือ  ในฐานะผู้บริหารองค์กร  ไม่เพียงรู้เรื่องราวทุกจุดในโรงพยาบาลหาก  ผอ.  ยังรอบรู้เรื่องราวของวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่นด่านซ้ายไม่แพ้คนเจ้าของพื้นที่  หมอเคยทำงานวิจัยท้องถิ่นร่วมกับมูลนิธิเล็ก ประไพ วิริยะพันธ์ในเรื่องนี้มาแล้ว  ผมรู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีราก เพราะตอนเด็ก ๆ ต้องย้ายตามพ่อไปตามต่างจังหวัดอยู่เรื่อย ๆ เมื่อมาอยู่ที่ด่านซ้าย ซึ่งเป็นเมืองที่มีรากทางวัฒนธรรมประเพณี ทำให้ผมรู้สึกเหมือนคนมีราก อบอุ่นและมั่นคง”  นั่นคือเหตุผลที่คุณหมอและหมอป้อม  ภรรยาคิดลงหลักปักฐานที่ด่านซ้าย  สร้างบ้านหลังสวยเรียบงาย  อยู่สบาย  ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่น  ริมลำธารเล็ก    มองเห็นทิวเป็นฉากหลังแสนสวยไม่ไกลจากโรงพยาบาล  ลูกคนโต  กระเต็น  เรียนหนังสืออยู่กรุงเทพฯ  พักอยู่กับปู่ย่า  ส่วนกระติ๊ด  คนเล็กอยู่กับพ่อแม่ที่นี่  ปิดเทอมลูกชายคนโตจึงจะกลับมาบ้านที่ด่านซ้าย  ใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติอย่างมีความสุข  บริเวณบ้านหลังเล็กที่ใช้รับรองแขก  แบ่งเป็นแปลงนาขนาดพอประมาณ  พืชผลจากข้าวที่ปลูกในนาแปลงนี้นำมาหล่อเลี้ยงชีวิตคนในบ้าน  เป็นทั้งอาหารอันอิ่มกายและอาหารใจอันอิ่มเอม  คุณตาสมเดช  สิงห์ประเสริฐ  วัย  76  ปี  ข้าราชการบำนาญ  ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช  สาขาด่านซ้าย  และประธานกรรมการกองทุนดูแลสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ  เป็นคนเก่าของด่านซ้ายที่รอบรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของด่านซ้ายดีที่สุดคนหนึ่ง  บอกเล่าถึง  หมอจิ๋ว  ที่ได้รู้จักคุ้นเคยว่า  ช่วงแรกที่หมอมาอยู่แค่ปีสองปี  กำนันผู้ใหญ่บ้านก็รู้จักกันหมด  เพราะหมอชอบลงชุมชน  แม้แต่ลูกเด็กเล็กแดงก็ยังคุ้นเคยกับหมอจิ๋ว  ด้วยหมอเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี  มีเสน่ห์ในตัว  กองทุนที่คุณตาเป็นประธานและมีคณะกรรมการช่วยดูแล  มีจุดประสงค์สามข้อหลัก  คือ  หนึ่ง  ดูแลคนแก่ที่ยากจน  ทุพพลภาพ  ขาดผู้อุปการะ  หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง  สอง  สนับสนุนกิจกรรมของโรงพยาบาล  สาม  สนับสนุนส่งเสริมองค์กรการกุศล  จากเงินทุนก้อนแรกที่มาจากการออมรายวันวันละบาทได้มาร่วม  3  แสนบาท  หลักจากป่าวประกาศให้รู้ทั่วกัน  ก็มีคนมาร่วมบริจาคเพิ่มขึ้นเรื่อย    ยังมีการหาเงินสมทบจากกิจกรรมต่าง    เช่น  จัดเดิน  วิ่งการกุศล  การประกวดร้องเพลง  เร็ว    นี้กองทุนจัดเดิน  วิ่งการกุศล  และจำหน่ายเสื้อที่ใส่ในงาน  ขายได้ถึงพันกว่าตัว  ได้เงินก้อนมาเป็นแสนบาท  นอกจากได้เงินจากกองทุนนี้มาจ้างนักกายภาพบำบัดทำงานแล้ว  เงินจากกองทุนยังนำมาซื้อรถเข็น  ไม้เท้าช่วยเดินให้กับคนแก่  คนพิการ  ซื้อเครื่องให้น้ำเกลืออัตโนมัติ  เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลืองแรงงานพยาบาลคอยเฝ้าระวังตลอดเวลายามให้น้ำเกลือผู้สูงอายุ  ช่วยซื้อที่นอนลมให้กับคนแก่ที่ป่วยเรื้อรัง  ถูกแผลกดทับ  ฯลฯ  ตลอด  12  ปีที่ผ่านมากองทุนนี้ได้ใช้เงินทุนสนับสนุนการผ่าตัดตาต้อกระจกในผู้สูงอายุไปแล้วถึง  800  ราย  จนถึงวันนี้  กองทุนได้มีส่วนร่วมในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้พิการในพื้นที่ให้ดีขึ้น  ภายใต้แนวความคิดที่ว่า  คนด่านซ้ายด้วยกันช่วยเหลือดูแลกันเอง  เพื่อเสริมสร้างความเอื้ออาทร  สายใยอันอบอุ่นให้กับผู้คนในชุมชนว่าถึงจะเดือนร้อนลำบาก  แต่ชุมชนก็ยังไม่ทอดทิ้งกัน  ทันตแพทย์วัฒนา  ทองปัสโณว์  จบทันตแพทย์จากมหิดล  และเริ่มทำงานที่นี่มาหลังจบการศึกษา  ปัจจุบันรับผิดชอบดูแลงานคุณภาพของโรงพยาบาล  ให้ความเห็นว่าที่นี่มีการเปิดหน้างานหลากหลายเหมือนเป็นวัฒนธรรมขององค์กรไปแล้ว  ต่างจากที่อื่นที่ทำงานในกรอบของความเป็นโรงพยาบาล  ผู้อำนวยการเปิดเวทีให้เสมอสำหรับการทำกิจกรรมที่บุคลากรแต่ละคนสนใจ  ทำให้ทำงานด้วยความสนุกและรู้สึกมีคุณค่า  เช่น  ตนและกลุ่มเพื่อนที่สนใจร่วมกันทำสื่อ  ถ่ายทำหนัง  โดยเขียนบท  ถ่ายทำ  ตัดต่อกันเองในรูปวีดีโอ  ให้ความรู้เรื่องยาเสพติดเพื่อเผยแพร่ในโรงเรียนและหน่วยงานต่าง    ในอำเภอ  ที่นี่งานทันตกรรมการทำเป็นระบบนาน  10  กว่าปีแล้ว  โดยเฉพาะเรื่องงานทันตกรรมในโรงเรียน  ดูแลป้องกันเรื่องฟันผุตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาล  จนถึงประถม  ปัญหาเรื่องช่องปากและฟันผุจึงพบน้อยมาก  ทันตแพทย์วัฒนาให้ความเห็นว่าหมอภักดี  ผู้อำนวยการเป็นคนที่มีข้อมูลในพื้นที่มาก  เป็นคนตัดสินใจเร็ว  และคิดไกล  มองเห็นภาพกว้างและภาพรวมของงานได้ดี  ชอบความท้าทาย  ความที่อยู่มานาน  จึงเป็นผู้บริหารที่มีบารมีทั้งในพื้นที่และมีเครือข่ายมากมายที่ช่วยสนับสนุนและเป็นประโยชน์กับงานของโรงพยาบาลและชุมชน  สิ่งที่แข็งที่สุดที่สามารถทำให้โรงพยาบาลขับเคลื่อนไปด้วยดี  เป็นเพราะทีมงานดี  มีการจัดระบบงานดี  มั่นคง  ผอ.  จะมีอะไรใหม่    มีประเด็นท้าทายมาให้เราทำตลอด  ไม่มีหยุด  เราก็สนุกกับงาน  ที่นี่ทำงานในลักษณะที่เห็นคุณค่าของชีวิตคนพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยโดยไม่ผ่านเลย  นี่คือจุดเด่นของ  ผอ.  ไม่ว่าจะคิดงานระบบอะไรก็ตาม  ชาวบ้านต้องมาก่อนเสมอ  บางที่เจ้าหน้าที่ต้องยอมลำบากบ้าง  เพื่อให้ชาวบ้านสบาย  ที่นี่คิดนอกกรอบตลอดเพียงแต่ขอให้ดูจุดมุ่งหมายเป็นหลัก  การทำงานที่นี่ได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่    ตลอด  เรายากเห็นอะไร    ดีขึ้น  ถ้าเป็นเรื่องงาน  เวลาขอการสนับสนุน  เราจะได้รับมากกว่าที่ขอไปเสมอ  เราโชคดีที่ได้คนดี    มาทำงานที่นี่เยอะ  หมอ  พยาบาลที่นี่ก็ไม่เปิดคลินิก  ทำงานกันเต็มที่ช่วงนี้โรงพยาบาลถือว่าน่าจะดีที่สุดแล้วทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ เป็นความเห็นของหมอวัฒนา ผู้ดูแลเรื่องงานคุณภาพของโรงพยาบาล....  เภสัชกรดาริน  จึงพัฒนาวดี  หรือเภสัชฯอ๋อย  เป็นอีกหนึ่งกำลังหลักในการทำงานของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย  เธอจบการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์  จุฬาฯ  และทำงานที่นี่มาได้  18  ปีแล้ว  ให้ข้อสังเกตว่า  บุคลากรของที่นี่ไม่ค่อยมีคนสูงอายุ  ระดับหัวหน้างานสามารถพูดคุยปรึกษากันได้หมด  แรกที่มาทำงานใหม่    โรงพยาบาลยังไม่สวยอย่างนี้  ผู้คนก็ยังน้อย  บางครั้งคนขาด  เธอต้องเข้าไปช่วยในห้องผ่าตัด  ตกเย็นก็เล่นกีฬา  มีกิจกรรมต่าง    ทำไปเรื่อย  จึงไม่เงียบเหงา  อาจารย์ที่เคยมาสอนมารู้ข่าวว่าเธอยังอยู่ที่นี่  ไม่ย้ายไปไหน  ชมว่าเธอเสียสละและอดทน  ขณะที่เจ้าตัวกลับรู้สึกว่าไม่ต้องอดทนอะไรเป็นเพราะเธอได้อยู่ในที่ที่มีความสุข  งานเภสัชกรในโรงพยาบาลชุมชน  หากมีความเข้าใจ  เห็นใจคนไข้  จะสามารถช่วยคนไข้ได้มาก  เรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องละเอียดอ่อน  เช่น  ความแรงของยาในมุมมองของเภสัชฯ  กับมุมมองของชาวบ้านเป็นเรื่องแตกต่างกัน  ความแรงของยาในมุมของเภสัชฯ  ขึ้นอยู่กับเป็นยาอะไร  ระดับไหน  มิลลิกรัมเท่าไร  แต่ความแรงเรื่องยาของชาวบ้านขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้จ่ายยา  เช่น  ถ้าเป็นยาจากสถานีอนามัย  ถือเป็นยาอ่อน  ถ้าเป็นยาหมอสั่ง  ถือว่าแรงเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าหมอใหญ่สั่ง  คือว่าแรงสุดยอด  ถ้าได้ยาจากโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยถือว่ายาแรง  ยาดี
ขณะเดียวกัน  ถ้าคนไข้เคยกินยาอย่างเดิมแล้วหาย  อยู่    เภสัชฯ มาเปลี่ยนยาเป็นสีอื่น  คนไข้จะรู้สึกว่าเป็นยาไม่ดี  สู้ของเดิมไม่ได้  ถ้าเภสัชฯ  ไม่เข้าใจความคิดของชาวบ้าน อาจจะดุว่า  แต่ถ้าเข้าใจมุมมองของชาวบ้าน  ก็จะอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจได้ 
อีกปัญหาที่พบมาก  คือเภสัชฯ  ตามโรงพยาบาลใหญ่    จะไม่มีความละเอียดอ่อนเรื่องการจ่ายยา  เช่น  คนไข้รายหนึ่งของโรงพยาบาลที่ด่านซ้ายเป็นโรคหัวใจ  ต้องไปรับยาที่โรงพยาบาลใหญ่  ซึ่งจะนัดจ่ายยาให้เดือนละครั้ง  แต่คนไข้ต้องเดินทางไปมาลำบาก  ทั้งสิ้นเปลืองค่ารถ  ทางโรงพยาบาลที่ด่านซ้ายต้องออกหนังสือให้ญาติคนไข้ถือไปอธิบายสถานการณ์ของคนไข้รายนี้ให้โรงพยาบาลใหญ่รับรู้  คนไข้จึงได้รับยาเป็นเวลา  3  เดือน  ช่วยลดภาระการเดินทางไปมาได้มาก
ความใส่ใจเล็ก    น้อย    เพื่อให้คนไข้ได้รับบริการอย่างดีที่สุดเป็นสำนึกของทีมงานที่นี่  เช่น  น้องแก้วกันยา  ที่ต้องถ่ายทางหน้าท้องผู้ปกครองต้องเสียเงินซื้อถุงปัสสาวะเดือนละ  2,000  กว่าบาท  ทางโรงพยาบาลเห็นว่าพ่อแม่เด็กยากจน  จึงหาผู้รับผิดชอบช่วยซื้อให้  หรือผู้ป่วยบางรายต้องกินยาตัวหนึ่งตลอดชีวิต  ยานี้ไม่มีอยู่ในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาล  โรงพยาบาลต้องสั่งยาให้เป็นการเฉพาะ  หรือให้คนขับรถของโรงพยาบาลไปรับยาจากโรงพยาบาลอื่นมาให้  เรียกว่าพยายามแก้ไขปัญหาด้วยใจเอื้ออาทร  เพื่อช่วยคนไข้ในทุกวิถีทาง  เมื่อไรที่เรามองเห็นว่าโรงพยาบาลไม่ใช่ของเรา แต่เป็นของคนด่านซ้าย เราจะไม่ขี้เหนียวกับคนไข้ แต่หลายโรงพยาบาลมองว่าโรงพยาบาลเป็นของเขา เขาเลยบอกว่าอันนี้เบิกไม่ได้ อันนี้คนไข้ต้องจ่ายเอง ถ้าคนไข้จน เขาจะเอาเงินจากที่ไหนมาจ่ายกัน หัวหน้าฝ่ายเภสัชพูดถึงจุดยืนของการทำงานที่นี่  ช่วงบ่าย  จำนวนคนไข้เริ่มมากขึ้น  และมีการรับคนไข้เข้าเป็นผู้ป่วยในมากขึ้น  จึงเป็นที่มาของการเปิดห้องยาช่วงเย็น  เพื่อให้บริการตั้งแต่  6  โมงเย็นถึง  4  ทุ่ม  การเป็นเภสัชกรในโรงพยาบาลชุมชนยังมีบทบาทต่างจากการทำงานในโรงพยาบาลใหญ่  ที่นี่เภสัชจะร่วมกับที่สหวิชาชีพของโรงพยาบาลในด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพ  มีบทบาทในการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค  เช่น  การตรวจตลาดสด  เพื่อดูเรื่องอาหารปลอดภัย  ฯลฯ  ตลาดสดที่นี่ได้รางวัลมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยมาหลายปีแล้ว  ที่นี่มียาสมุนไพรที่นำมาใช้ในบัญชียาของโรงพยาบาล  เช่น  หญ้าหนวดแมว  ฟ้าทลายโจร  โดยซื้อวัตถุดิบจากชาวบ้าน  และนำมาผลิตเองในรูปของชาชง  แม้จะไม่ประหยัดไปกว่าการสั่งซื้อ  แต่ถือว่าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน  ทำให้ชาวบ้านมีรายได้  ยังมีการอบและประคบสมุนไพร  การนวดแผนไทยให้บริการด้วย  เพื่อช่วยเสริมรายได้ให้กับชาวบ้าน  เภสัชกรอ๋อยเป็นผู้ที่สนใจกิจกรรม  โดยเฉพาะเรื่องของเด็กและศิลปวัฒนธรรม  เธอช่วยดูแลเรื่องการจัดตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน  ทั้งยังช่วยดูงานเรื่องการทำข้อมูล  แผ่นพับ  ด้วยเป็นคนชอบถ่ายรูป  และเป็นผู้หนึ่งถ่ายภาพสไลด์มัลติวิชั่นเรื่องผีตาโขนไว้มาก  กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่เป็นความสุขของเภสัชฯ  อ๋อยคือการทำห้องสมุดเด็ก  เรียกว่าห้องเล่นตาโขน  อยู่บริเวณตลาด  โดยรวบรวมเงินจากการลงขันของเพื่อน    เพื่อให้เด็กรักการอ่าน  จะได้ไม่ไปติดเกม  ทุกเสาร์  อาทิตย์เด็ก    จะมานั่งอ่านหนังสือกันอย่างเพลิดเพลินขณะนี้กำลังจะย้ายห้องสมุดจากในตลาดมาทำเป็นลานกลางแจ้งในที่ใหม่  เพื่อให้เด็ก    มีที่วิ่งเล่น  นอกจากนี้ทุกวันที่  31  ตุลาคม  ซึ่งเป็นวันฮัลโลวีน  หรือเทศกาลวันคริสต์มาส  เธอและทีมงานของโรงพยาบาลจะจัดกิจกรรมสนุก    ให้กับเด็ก    ลูกหลานคนในโรงพยาบาล  ภายหลังมีเด็ก    ในเขตเทศบาลมาร่วมด้วย  เด็ก    มีความสุขสนุกสนานกับการมาในเทศกาลพิเศษเช่นนี้  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย  ได้รับการรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  (HA)  ในปี พ.ศ.  2548  พร้อมกับได้รับการคัดเลือกเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในปีเดียวกัน  เมืองเล็ก    แห่งนี้สงบสุขน่าอยู่  มีภูมิประเทศสวยงาม  อยู่ท่ามกลางขุนเขา  อากาศเย็นสบาย  มีรากของวัฒนธรรมประเพณีอันเข้มแข็งและมีวิถีชีวิตที่อบอุ่น  ปลอดภัย...  เมืองเล็ก    แห่งนี้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว  ในเทศกาลผีตาโขน  อันขึ้นชื่อของจังหวัดเลย...  สิบกว่าปีที่แล้ว  หมอคนหนึ่งเดินทางมาทำงานที่นี่  ตลอดระยะเวลาการทำงาน  หมอหนุ่มฝันอยากเห็นด่านซ้ายเป็นแหล่งรวมของคนที่มีจิตใจเอื้ออาทรต่อกัน  เป็นสังคมเล็ก    ที่อบอุ่น  ทั้งเรื่องการท่องเที่ยว  การพัฒนา  การศึกษา  การเกษตร  และกิจกรรมเพื่อเด็ก    ......... ในวันนี้  การทำงานของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย  ดำเนินไปตามแนวทางที่วาดฝันไว้  เพราะทีมงานทุกชีวิตมุ่งมั่นทำงานบนรากฐานของความเชื่อที่ว่าโรงพยาบาลมิได้แยกส่วนจากชุมชนหากคือลูกหลานของชุมชน  และชุมชนคือเจ้าของโรงพยาบาลสำหรับโรงพยาบาลแห่งนี้  ทุกกิจกรรม  ทุกมิติเพื่อคุณภาพชีวิตผู้คน  ถือเป็นงานเพื่อสุขภาพทั้งสิ้น….



                                                                       นี่คือโรงพยาบาลในอุดมคติอันงดงามอีกแห่งหนึ่งในสายธารสาธารณสุขไทย

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view