“เดินได้… อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม”

“เดินได้… อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม”
“เดินได้… อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม”
โรงงานขาเทียมพระราชทานในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
        เนื่องจากระบบบริการเดิม คนพิการขาขาดในพื้นที่ด่านซ้าย ต้องเดินทางไปเพื่อรับบริการจัดทำขาเทียมที่
หน่วยขาเทียมโรงพยาบาลเลย ซึ่งมีระยะทางไกลกว่า 82 กิโลเมตร รวมถึงขั้นตอนการรับบริการซับซ้อนและต้อง
รอการจัดทำขาเทียมเป็นเวลานาน ทำให้คนพิการส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงบริการขาเทียมที่มีประสิทธิภาพ
ปี พ.ศ. 2550 ทางโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายได้จัดส่งบุคลากร 2 คน ฝึกอบรมช่างขาเทียม
พระราชทาน รุ่นที่ 1 (จากโรงพยาบาล 11 แห่งทั่วประเทศ) และเปิดให้บริการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยการบริการ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 – ตุลาคม 2564 มีดังนี้ จัดทำขาเทียมรายใหม่ 220 ขา แบ่งเป็น ขาเทียมระดับเหนือเข่า
51 ขา ขาเทียมระดับใต้เข่า 155 ขา ขาเทียมระดับเข่า 11 ขา ขาเทียมระดับข้อเท้า 3 ขา และมีการซ่อมแซม
ขาเทียมรายเก่า 113 ครั้ง
        นอกจากนี้ยังใช้ทักษะความสามารถและการประยุกต์วัสดุเพื่อช่วยแก้ไขความผิดปกติในเด็กแรกเกิดที่มี
ภาวะเท้าผิดรูป 30 ราย ดัดแปลงรองเท้าเบาหวานเพื่อแก้ไขป้องกันการเกิดแผลที่เท้า 14 ราย ดัดแปลงอุปกรณ์
แก้ไขภาวะส้นเท้าตก 1 ราย อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการแก้ไขกายอุปกรณ์อื่น เช่น แขนเทียม
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้พิการไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลจังหวัด
ด้านบุคลากร ได้รับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาทักษะเชิงช่าง โดยร่วมออกหน่วยขาเทียมพระราชทานภายใน
ประเทศ 20 ครั้ง ต่างประเทศ 12 ครั้ง และเข้าร่วมอบรมเฉพาะด้าน ได้แก่ การทำรองเท้าเบาหวานมาตรฐาน
การทำขาเทียมระดับสะโพก
        นอกจากนี้ ในปัจจุบันโรงงานขาเทียมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ยังสามารถเป็นศูนย์รับส่งต่อ
คนพิการจากจังหวัดใกล้เคียง และจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า
การมีโรงงานขาเทียมพระราชทานในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในพื้นที่ห่างไกล สามารถอำนวย
ความสะดวกให้คนพิการขาขาด และคนพิการที่อวัยวะอื่นๆ เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ส่งผลต่อ
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนพิการและครอบครัว
view